ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ D-HOUSE GROUP
โครงการนิคมอุตสาหกรรม ฮับโลจิสติกส์และพลังงานไฟฟ้าทดแทน
( เพชรบูรณ์ โมเดล )
บริษัท บิ๊กดีล เอ็นเตอร์ไพรซ์ จำกัด
(นโยบายประชารัฐ ภาคเอกชน) ไทยเพิ่มสุข
โดย ดร.ชยณัฎฐ์ แสงมณี
โครงการนิคมอุตสาหกรรม ฮับโลจิสติกส์และพลังงานไฟฟ้าทดแทน
( เพชรบูรณ์ โมเดล )
ที่มาของโครงการ แนวโน้มธุรกิจและอุตสาหกรรมไทย ปี 2566-2568
ภาพรวมแนวโน้มอุตสาหกรรมไทยในระยะ 3 ปีข้างหน้าจะพิจารณาครอบคลุมทั้งปัจจัยด้านความท้าทายและโอกาสที่สะท้อนความน่าสนใจ (Attractiveness) ในการทำธุรกิจของแต่ละอุตสาหกรรม ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยแวดล้อมทางเศรษฐกิจมหาภาค และปัจจัยภายในเฉพาะด้านของอุตสาหกรรมนั้น
เนื่องจาก บริษัท บิ๊กดีล เอ็นเตอร์ไพรซ์ จำกัด(นโยบายประชารัฐ ภาคเอกชน) ไทยเพิ่มสุข โดย กระผม ดร.ชยณัฎฐ์ แสงมณี กรรมการผู้จัดการลงนามของบริษัทฯ ได้จัดทำ โครงการนิคมอุตสาหกรรม ฮับโลจิสติกส์และพลังงานไฟฟ้าทดแทน เพื่อเกษตรกรและอุตสาหกรรมSME Thailand (NEW MOF อ.ต.ก.นิวส์) ประชารัฐ ภาคเอกชน ) เพื่อระบบอุตสาหกรรม SME และเกษตรกรเพื่องานอาหารผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาสและประชาชนคนไทยทุกคนและ เพื่อ การวางแผน อาหาร การสร้างความมั่งคงและการอยู่อาศัยสนับสนุน โดย นโยบาย รัฐบาล กระทรวงอุตสาหกรรม,กระทรวงพานิชฯ กระทรวงเกษตรกรและสหกรณ์ และกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ที่นี้ดำเนินโครงการตามวิธีการให้ถูกต้องตาม วัตถุประสงค์ของโครงการ ดังนี้
ประเทศไทยกำลังจะก้าวเข้าสู่การแข่งขั้นทางการตลาดด้างการเกษตรที่สูงในภูมิภาค EEC และประชากรไทยได้เข้าสู่ สังคมผู้สูงอายุ การเปลี่ยนแปลงและเตรียมพร้อมให้ผู้สูงอายุรับมือกับการเปลี่ยนแปลง ทำให้ผู้สูงอายุ ต้องเผชิญกับปัญหาในการปรับตัวเพื่อให้สอดคล้องกับสังคมปัจจุบัน ทั้งในด้าน
1.อาหารของประชากรที่สูงวัย
2.ที่พักอาศัยของประชากรที่สูงวัย
3.สังคมและวัฒนธรรมของผู้สูงวัย
4.รายได้ของประชากรผู้สูงวัย
5.ความมั่งคงของชีวิตประชากรผู้สูงวัย
6.สุขภาพที่ดีของประชากรผู้สูงวัย
อีกจำนวนมาก ความคิด ความเข้าใจและค่านิยม ต่างๆประกอบกับวัยสูงอายุเป็นวัยที่ต้องเผชิญกับรูปแบบการดำเนินชีวิตแบบใหม่ ผู้สูงอายุที่มีศักยภาพในด้านภูมิ ความรู้ ภูมิธรรม ภูมิปัญญา สมควรส่งเสริมให้เป็นทรัพยากรที่เข้มแข็งและมีคุณค่าให้ยาวนานที่สุด โดยนำจุดแข็งนี้ มาสร้างโอกาสในการพัฒนาสังคม กิจกรรมที่เป็นประโยชน์นี้จะทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกมีความสุขได้บริหารกาย จิต สังคม เป็นบุคคลที่พัฒนาไปตามกาลสมัยพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงพึ่งตนเองได้และสามารถเป็นพลังให้การพึ่งพา แก่ชุมชนและสังคม ซึ่งปัจจุบันทั่วประเทศมีผู้สูงอายุที่เป็นภูมิปัญญาและมีชมรมคลังปัญญาผู้สูงอายุ ซึ่ง ประกอบด้วยสมาชิกผู้สูงอายุ ที่ขึ้นทะเบียนเป็นผู้มีความรู้และมีจิตอาสาพร้อมจะถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ ให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม แต่ขาดโอกาส ขาดพื้นที่ในสังคม ขาดงบประมาณ และช่องทางในการเผยแพร่ ภูมิ ปัญญา
ดร.ชยณัฎฐ์ แสงมณี ประธานกรรมการ บริษัท บิ๊กดีล เอ็นเตอร์ไพรซ์ จำกัด เป็นผู้ประกอบกิจการในธุรกิจก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ โดยมีผลงานในการก่อสร้างและพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์เป็นจำนวนมาก เนื่องด้วยบริษัทฯ เป็นผู้ประกอบกิจการในจังหวัดนครปฐม และได้เล็งเห็นว่ารัฐบาลกำลังผลักดันและดำเนินโครงการประชารัฐด้านต่างๆเป็นจำนวนมาก บริษัทฯจึงมีความประสงค์ที่จะมีส่วนร่วมในการพัฒนาด้านดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยเฉพาะด้านโดยเฉพาะการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงวัย ที่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ และปัจจุบันได้ดำเนินการอยู่นั้น มีผู้ร่วมทุนและมีงบประมาณที่มีจำนวนมากพอที่จะ ขยายกิจการมาทำธุรกิจการตลาดเพื่อสมาชิกสหกรณ์ตลอดจนประชาชนที่สนใจในการค้าขายใน โครงการนิคมอุตสาหกรรม ฮับโลจิสติกส์และพลังงานไฟฟ้าทดแทน (ประชารัฐ อ.ต.ก. ภาคเอกชน )
นโยบายการบริการและการบริหาร อย่างองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.นิวส์) ประชารัฐ ภาคเอกชน ) บริหารการโครงการและพัฒนาธุรกิจ โดย ดร.ชยณัฎฐ์ แสงมณี ซึ่งมีความประสงค์ที่จะก่อตั้ง โครงการนิคมอุตสาหกรรม ฮับโลจิสติกส์และพลังงานไฟฟ้าทดแทน (อ.ต.ก.นิวส์ ) ประชารัฐ ภาคเอกชน เพื่อสมาชิกของโครงการ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ของโครงการที่คล้ายกันและเพื่อประชาชนคนไทยทุกคนได้ผลประโยชน์จากโครงการด้วยกันทั้งสิ้น เช่น
-โครงการ สร้างงานสร้างอาชีพให้กับสมาชิก เพื่อความอยู่รอยและมั่นคง ให้กับสมาชิก
-โครงการ ส่งเสริมการเรียนรู้ และรักษาวัฒนธรรมประเพณี ให้กับสมาชิก
-โครงการ จัดหาและประกอบอาหารตลอดจนเครื่องอุประโภคและบริโภค ให้กับสมาชิก
-โครงการ ส่งเสริมเกษตรกรผลินสินค้าปลอดสารพิษ เพื่อสมาชิก โครงการ ผู้สูงอายุ
-โครงการ ขนส่งและบริการจัดหาสินค้าเพื่อสมาชิกโครงการ ผู้สูงอายุ
-โครงการ แพลตฟอร์ม ดิจิตอล และสถาบันการเงิน เพื่อสมาชิกของ โครงการผู้สูงอายุ
-โครงการ ส่งเสริมการท่องเที่ยวทั่วไทยเชิงวัฒนธรรม การบริโภค ของสมาชิก
-โครงการ ส่งเสริมการลงทุน จัดทำอุสาหกรรม สินค้าอุประโภคและบริโภค เพื่อผู้สูงวัย
จึงเขียนโครงการนิคมอุตสาหกรรม ฮับโลจิสติกส์และพลังงานไฟฟ้าทดแทน (อ.ต.ก.) ประชารัฐ ภาคเอกชน ) เพื่อลงทุนในกิจการของรัฐ ตาม พ.รบ.ส่งเสริมการลงทุน ปี 2562 และได้ร่วมประชุม ศึกษาหาแนวทางการลงทุนและขอสนับนุการลงทุนในกิจการของภาครัฐ 2567 ต่อ หน่วยงานของรัฐ ผ่าน องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) จังหวัด นนทบุรี ผ่านท่าน ผู้ว่าราชการจังหวัด นนทบุรี เพื่อขอรับการสนับสนุน นโยบายการทำงานและขอรับการสนับสนุนนโยบายโครงการ ในเวลานี้
ปัจจัยแวดล้อมทางเศรษฐกิจมหาภาค (Macroeconomic environments) โครงการ นิคมอุตสาหกรรม ฮับโลจิสติกส์และพลังงานไฟฟ้าทดแทน ในการจัดทำโครงการ
เศรษฐกิจโลกปี 2566-2568: ฟื้นตัวค่อยเป็นค่อยไป
• เศรษฐกิจโลกในระยะ 3 ปีข้างหน้ามีแนวโน้มขยายตัวเฉลี่ย 4% ต่อปี หลังจากที่อัตราการเติบโตอยู่ในระดับสูงในปี 2564 ที่ 5.9% จากมาตรการกระตุ้นขนาดใหญ่และการเปิดเมืองของประเทศชั้นนำของโลก แนวโน้มเศรษฐกิจยังฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป (ภาพที่ 1) ปัจจัยสนับสนุนมาจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจของภาคเอกชน ทั้งการฟื้นตัวในภาคบริการและการขยายตัวต่อเนื่องในภาคการผลิต อันเป็นผลจากการฉีดวัคซีนที่แพร่หลายมากขึ้น การผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาด และการทยอยเปิดเมืองในหลายประเทศ รวมถึงมาตรการการเงินการคลังที่ยังเอื้อต่อการเติบโตแม้จะทยอยลดลงจากช่วงวิกฤต อย่างไรก็ดี ความเสี่ยงและความไม่แน่นอนยังคงมีอยู่ อาทิ การกลายพันธุ์ของ COVID-19 ประสิทธิภาพของวัคซีน และภาวะคอขวดของอุปะทานภาคการผลิตที่อาจยืดเยื้อไปจนถึงปี 2565 นอกจากนี้ การปรับนโยบายการเงินให้เป็นปกติ (Policy normalization) โดยการทยอยขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อลดแรงกดดันเงินเฟ้อ จะส่งผลให้ต้นทุนการดำเนินธุรกิจเพิ่มขึ้นในระยะต่อไป
• เศรษฐกิจสหรัฐฯคาดว่าจะขยายตัวเฉลี่ย 3.0% ต่อปี เทียบกับที่เติบโต 6.0% ในปี 2564 แม้อัตราการเติบโตจะชะลอลงภายหลังผลบวกจากแรงกระตุ้นทางการเงินการคลังและการเปิดเมืองเริ่มเพลาลง แต่เศรษฐกิจยังมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง ปัจจัยบวกจากการฟื้นตัวอย่างชัดเจนของตลาดแรงงาน สะท้อนจากอัตราการว่างงานลดลงสู่ระดับ 4.2% ในเดือนพฤศจิกายน จาก 14.8% ในเดือนเมษายน 2563 ส่งผลให้รายได้และการใช้จ่ายของผู้บริโภคปรับดีขึ้น สำหรับภาคธุรกิจเริ่มขยายการลงทุนตามการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานมูลค่า 1.2 ล้านล้านดอลลาร์ฯ ในช่วงปี 2565-2572 นอกจากนี้ การกำหนดอัตราภาษีนิติบุคคลขั้นต่ำทั่วโลก (Global minimum tax) ซึ่งจะนำมาใช้ในปี 2566 อาจทำให้เกิดการ reshoring กลับสู่สำนักงานใหญ่ในสหรัฐฯ มากขึ้น ส่วนความขัดแย้งกับจีนคาดว่ายังมีต่อเนื่อง แต่การหากลุ่มพันธมิตรทางธุรกิจจะเข้มข้นขึ้นผ่านโครงการ Build Back Better World ของสหรัฐฯ เพื่อแข่งขันกับ Belt and Road Initiative ของจีน ซึ่งอาจเกิดการแบ่งกลุ่มของห่วงโซ่มูลค่าระหว่างสหรัฐฯ และจีนที่ชัดเจนมากขึ้น สำหรับทิศทางนโยบายการเงิน เฟดเริ่มปรับลดการผ่อนคลายทางการเงินผ่าน QE ตั้งแต่ปลายปี 2564 และมีแนวโน้มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปี 2565 อย่างไรก็ดี จาก Dot Plots ของเฟดชี้ให้เห็นว่าดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ ในปี 2567 จะยังคงต่ำกว่าระดับที่เฟดคาดการณ์ในระยะข้างหน้า (Longer run) ที่ 2.5% ซึ่งสะท้อนนโยบายการเงินที่ยังเอื้อต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ
• เศรษฐกิจยูโรโซนคาดว่าจะขยายตัวเฉลี่ย 2.6% ต่อปี เทียบกับที่ขยายตัว 5.0% ในปี 2564 แรงหนุนสำคัญจากการบริโภค การลงทุน และการท่องเที่ยว ด้านการบริโภคมีแนวโน้มเติบโตตามการฟื้นตัวของตลาดแรงงานและกำลังซื้อจากเงินออมที่สะสมไว้ในช่วง COVID-19 แพร่ระบาด ส่วนการลงทุนมีเงินช่วยเหลือจาก EU Recovery Fund ที่ทยอยเบิกจ่ายและเป็นหนึ่งในแผนการลงทุนของหลายประเทศซึ่งเน้นการสร้างงาน โครงการดังกล่าวคาดว่าช่วยกระตุ้น GDP ได้ราว 0.7-1.0% ต่อปี ขณะที่ภาคท่องเที่ยวมีแนวโน้มปรับดีขึ้นซึ่งจะช่วยหนุนเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศตอนใต้ เช่น อิตาลี สเปน ฝรั่งเศส นอกจากนี้ อัตราดอกเบี้ยยังมีแนวโน้มอยู่ในระดับต่ำอย่างน้อยจนถึงสิ้นปี 2565 ประกอบกับมาตรการผ่อนคลายทางการเงินที่ยังช่วยเสริมสภาพคล่องต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าจะไม่มากเหมือนช่วงวิกฤตโควิดหลังจากการเข้าซื้อพันธบัตรภายใต้โครงการ Pandemic Emergency Purchase Programme (PEPP) วงเงิน 1.35 ล้านล้านยูโร มีแนวโน้มหมดลงในช่วงต้นปี 2565 สำหรับประเด็นที่อาจกดดันเศรษฐกิจยูโรโซน ได้แก่ การขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์ที่กระทบต่อภาคการผลิตและการส่งออกแม้อาจคลายลงบ้างในช่วงครึ่งหลังของปี 2565 การกลับมากำหนดกฎระเบียบด้านการคลังในช่วงปี 2566 โดยกำหนดเพดานหนี้ไม่เกิน 60% ของ GDP และการขาดดุลการคลังไม่เกิน 3% ของ GDP อาจจำกัดแผนลงทุนเพิ่มเติมของรัฐบาลในประเทศที่มีปัญหาภาคการคลัง สำหรับแนวคิดด้านเศรษฐกิจเพื่อสิ่งแวดล้อมที่เร่งตัวขึ้นทั่วโลกโดยเฉพาะในยุโรป ทำให้เกิดการรณรงค์ใช้พลังงานสะอาดที่ยังผลิตได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการและลดการลงทุนในพลังงานฟอสซิล เมื่อประกอบกับการทยอยเปิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ อาจส่งผลต่อการขาดแคลนพลังงานและเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นในระยะสั้น
• เศรษฐกิจญี่ปุ่นมีแนวโน้มขยายตัวเฉลี่ย 1.8% ต่อปี จากที่เติบโต 2.4% ในปี 2564 ปัจจัยหนุนจาก (1) การส่งออกสินค้ามีแนวโน้มขยายตัวตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและการค้าโลก (2) การขยายการลงทุน เพื่อรองรับการขยายตัวของการส่งออกและการลงทุนด้านเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อรับมือกับปัญหาขาดแคลนแรงงานในอนาคต ส่วนธุรกิจที่เกี่ยวกับภาคท่องเที่ยวจะทยอยฟื้นตัวจากอานิสงส์ของมาตรการ “Go To Travel” และการเริ่มทยอยเปิดประเทศ (3) การบริโภคภาคครัวเรือนมีแนวโน้มปรับดีขึ้น จากตลาดแรงงานที่แข็งแกร่งขึ้น สะท้อนจากอัตราการว่างงานอยู่ในระดับต่ำที่ 2.8% ในเดือนตุลาคม 2564 และ (4) มาตรการกระตุ้นอื่นๆ อาทิ งบประมาณเพิ่มเติม 30 ล้านล้านเยน หรือราว 5.6% ต่อ GDP เพื่อเยียวยาผลกระทบของ COVID-19 และฟื้นฟูเศรษฐกิจ ขณะเดียวกันรัฐบาลยังผลักดันแนวคิด “ทุนนิยมใหม่ (New Capitalism)” ที่มุ่งกระจายการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างเป็นธรรม เช่น การเก็บภาษีจากกลุ่มผู้มีรายได้สูง การปรับเพิ่มค่าจ้าง และการส่งเสริมการลงทุนในส่วนภูมิภาค ด้านธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) มีแนวโน้มดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายต่อเนื่องทั้งอัตราดอกเบี้ยติดลบ การควบคุมเส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล และการผ่อนคลายเชิงปริมาณ ทั้งนี้ การฟื้นตัวยังคงเป็นไปอย่างช้าๆ สะท้อนจากอัตราการออมของครัวเรือนยังอยู่ในระดับสูงท่ามกลางความเสี่ยงจาก Deflationary mindset ที่ส่งผลให้การใช้จ่ายในประเทศยังเป็นไปอย่างระมัดระวังและมีแนวโน้มเติบโตต่ำ
• เศรษฐกิจจีนคาดว่าจะขยายตัวเฉลี่ย 5.4% ต่อปี ชะลอลงจาก 8.0% ในปี 2564 ปัจจัยที่ส่งผลกดดันเศรษฐกิจมาจากการที่รัฐบาลเริ่มหันมาให้ความสำคัญกับการเติบโตในระยะยาว โดยเพิ่มความเข้มงวดกับภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการเก็งกำไรและการผูกขาด รวมถึงภาคอสังหาริมทรัพย์ อีกทั้งยังใช้นโยบาย Zero-Covid ซึ่งทำให้การเปิดประเทศล่าช้า สำหรับปัจจัยขับเคลื่อนการเติบโตในช่วง 3 ปีข้างหน้ามาจาก (1) การส่งออกและภาคการผลิตที่เกี่ยวข้อง ตามการทยอยฟื้นตัวของเศรษฐกิจและการค้าโลก ผนวกกับความได้เปรียบจากการผลิตสินค้าที่ใช้เทคโนโลยี รวมทั้งผลบวกจากการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ อาทิ RCEP และ CPTPP (2) การบริโภคภาคครัวเรือนมีแนวโน้มเติบโตตามการฟื้นตัวของตลาดแรงงาน ผนวกกับนโยบาย Common Prosperity ที่มุ่งเน้นเรื่องการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม อาทิ มาตรการสนับสนุนการจ้างงานผ่านกิจการขนาดย่อมและลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้มีรายได้น้อย (3) นโยบายหนุนการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมทางเทคโนโลยี การคุ้มครองสิ่งแวดล้อม การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน และนโยบายพึ่งพาตนเองโดยสร้างห่วงโซ่อุปทานที่เชื่อมโยงกับผู้ผลิตในจีนเพื่อลดความเสี่ยงจากภาวะการผลิตชะงักงัน (4) การส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศผ่านนโยบายพึ่งพาการเติบโตจากเศรษฐกิจในประเทศมากขึ้น (Inward looking policy) ซึ่งจะช่วยบรรเทาผลกระทบจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลก และความเสี่ยงจากการระบาดของ COVID-19 และ (5) ด้านนโยบายการเงินการคลัง ทางการจีนจะใช้แนวทาง “Cross-cyclical approach” โดยทยอยใช้เครื่องมือทางการเงินและการคลังอย่างค่อยเป็นค่อยไปและคำนึงถึงผลกระทบต่อเศรษฐกิจในระยะยาว เช่น มาตรการแบบเจาะจงเป้าหมายเพื่อผลักดันการเติบโตของภาคเศรษฐกิจจริง ปัจจัยเหล่านี้คาดว่าจะส่งผลให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนมีความต่อเนื่องแม้อาจชะลอตัวลงจากช่วงก่อนหน้า
การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างของเศรษฐกิจโลก...มีผลต่อทิศทางธุรกิจ/อุตสาหกรรมในระยะข้างหน้าโครงการนิคมอุตสาหกรรม ฮับโลจิสติกส์และพลังงานไฟฟ้าทดแทน เราพร้อมที่จะพัฒนาก่อสร้างโครงการ เป็นอย่างดี
• เศรษฐกิจโลกมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างจากการพึ่งพาภาคอุตสาหกรรมการผลิตไปสู่ภาคบริการมากขึ้น ส่งผลให้ภาคบริการมีความสำคัญเพิ่มขึ้นในการขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจ สะท้อนจากสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นเป็น 64.3% ของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) โลกในปี 2562 เทียบกับ 60.4% ปี 2551 โดยประเทศพัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐฯ และอังกฤษ มีสัดส่วนภาคบริการสูงเฉลี่ย 75% ของ GDP นำโดยธุรกิจบริการสมัยใหม่ (Modern services) อาทิ บริการด้าน IT Software และการเงิน ขณะที่สัดส่วนภาคบริการของไทยอยู่ที่ระดับ 58.3% ในปี 2563 เพิ่มขึ้นจาก 50.4% ปี 2551 (ภาพที่ 2) นำโดยธุรกิจบริการแบบดั้งเดิม (Traditional services) ซึ่งมีมูลค่าเพิ่มน้อย เช่น ภาคท่องเที่ยว การค้า โรงแรมและภัตตาคาร ส่วน Modern services ซึ่งสร้างมูลค่าเพิ่มได้มากกว่านั้นมีสัดส่วนเพียง 14% ของ GDP และกระจุกตัวในธุรกิจการเงินและโทรคมนาคมเป็นหลัก
ในระยะข้างหน้า สัดส่วนภาคบริการของไทยยังมีโอกาสปรับตัวสูงขึ้น ผลจากธุรกิจภาคบริการหันมาใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่พัฒนานวัตกรรมในภาคบริการมากขึ้น อาทิ การพัฒนาแพลตฟอร์มออนไลน์ที่เอื้อต่อการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวทั่วโลก การพัฒนาหุ่นยนต์ผ่าตัดคนไข้ และบริการผ่าตัดทางไกล ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมหันมาเน้นการใช้นวัตกรรมด้านบริการเพิ่มมูลค่าและสร้างความแตกต่างให้ตัวสินค้า (Servicification) เช่น บริการด้านออกแบบและให้คำปรึกษาโดยใช้เทคโนโลยีด้าน Artificial intelligence และ Big data ช่วยเพิ่มยอดขายและออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคได้ตรงจุดมากขึ้น ส่งผลให้ภาคบริการจะมีบทบาทมากขึ้นในห่วงโซ่การผลิตของไทย อย่างไรก็ตาม การเพิ่มสัดส่วนภาคบริการต่อ GDP ของไทยให้อยู่ในระดับเทียบเคียงกับประเทศพัฒนาแล้วอาจทำได้ช้า ผลจาก (1) การแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้ธุรกิจ/อุตสาหกรรมกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับภาคบริการ อาทิ โรงแรม ร้านอาหาร อสังหาริมทรัพย์และภาคก่อสร้างซบเซา และ (2) ไทยมีกฎระเบียบและนโยบายที่เป็นอุปสรรคต่อการลงทุนจากต่างชาติในภาคบริการค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับประเทศพัฒนาแล้ว สะท้อนจากดัชนีข้อจำกัดการประกอบกิจการภาคบริการ (Services Trade Restriction Index: World Bank) ล่าสุดปี 2563 พบว่าไทยมีค่าดัชนีฯ อยู่ในอันดับที่ 46 จาก 48 ประเทศ แสดงถึงข้อจำกัดในการเข้ามาดำเนินธุรกิจภาคบริการของผู้ประกอบการรายใหม่ค่อนข้างสูง การเข้ามาของทุนและเทคโนโลยีจากต่างชาติจึงทำได้จำกัด นับเป็นปัจจัยท้าทายของภาคธุรกิจ/อุตสาหกรรมไทยที่ต้องปรับตัวยกระดับภาคบริการสู่ Modern services ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างช้าๆ
• เทคโนโลยีสมัยใหม่กำลังเข้ามาปฏิรูปโครงสร้างภาคอุตสาหกรรมการผลิตและบริการอย่างกว้างขวางและรวดเร็ว ปัจจุบันโลกกำลังอยู่บนคลื่น Digital technology ที่เข้ามาขับเคลื่อนการสร้างมูลค่าเพิ่มในภาคการผลิตและบริการ โดยนำมาประยุกต์ใช้เพื่อสร้างความยั่งยืนในการเติบโตและเสริมความมั่นคงในห่วงโซ่อุปtทาน เทคโนโลยีหลักที่จะเข้ามามีบทบาทต่อภาคธุรกิจในช่วง 3 ปีหน้า ได้แก่
o The Internet of Things (IoT): มีบทบาทมากขึ้นในการเชื่อมโยงข้อมูลของอุปกรณ์ในชีวิตประจำวันผ่านระบบ Sensors ที่ฝังตัวในผลิตภัณฑ์ เช่น เครื่องมือแพทย์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และชิ้นส่วนอุปกรณ์ยานยนต์ ปัจจุบันมีการใช้ในธุรกิจบริการมากขึ้น อาทิ ห้องพักอัจฉริยะของธุรกิจโรงแรมที่ใช้ IoT ควบคุมไฟฟ้าทุกอย่างในห้องพักโดยใช้อุปกรณ์มือถือ หรือธุรกิจขนส่งที่ใช้ IoT ติดตามพัสดุและจัดการระบบการเคลื่อนย้ายสินค้า เป็นต้น
o Robotics: สามารถทำงานได้โดยอัตโนมัติและมีความแม่นยำสูง ช่วยลดความเสียหายในการผลิตและเพิ่มความปลอดภัยในการทำงานผ่านโปรแกรมที่ตั้งไว้ร่วมกับระบบเซนเซอร์หรือ Microprocessor โดยตัวอย่าง Robotics ที่ใช้ในการผลิตงานซ้ำๆ จำนวนมาก เช่น หุ่นยนต์ขนถ่ายวัสดุอันตรายในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และธุรกิจก่อสร้าง หุ่นยนต์ต้อนรับในโรงแรม หุ่นยนต์ช่วยการเพาะปลูก และหุ่นยนต์ให้อาหารสัตว์ในภาคเกษตร เป็นต้น
o Artificial intelligence (AI): การใช้ปัญญาประดิษฐ์ในภาคอุตสาหกรรมมักใช้ร่วมกับเทคโนโลยีอื่น เช่น Cloud และ IoT เพื่อประมวลผล Big data สำหรับการพัฒนาระบบอัตโนมัติทำงานร่วมกับมนุษย์ (Cobot) โดยการใช้ในสายการผลิต เช่น กลุ่ม อุตสาหกรรมยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ ใช้ AI สำหรับการควบคุมกระบวนการผลิตเพื่อลดส่วนสูญเสีย และคาดการณ์อุปกรณ์ที่ต้องซ่อมบำรุง กลุ่มธุรกิจการแพทย์ใช้ AI ในการวินิจฉัยโรคหรือจดจำรูปแบบเพื่อติดตามการระบาดของ COVID-19 ส่วนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์นำ AI มาใช้ในการออกแบบโครงสร้างอาคาร เป็นต้น
o 5G technology: เครือข่าย 5G ช่วยสนับสนุนกระบวนการควบคุมเครื่องจักรให้สามารถทำงานเชื่อมต่อกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดต้นทุนด้านแรงงาน เวลา และข้อผิดพลาดในกระบวนการผลิต ตัวอย่างเช่น HIROTEC Corp. (ญี่ปุ่น) ใช้ 5G ควบคุมระบบการทำงานของเครื่องจักรแบบระยะไกลในการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ หรือ MTU Aero Engines (เยอรมนี) ใช้ 5G ในกระบวนการออกแบบเครื่องยนต์เครื่องบิน ทำให้สามารถลดต้นทุนด้านการออกแบบได้ถึง 75% เป็นต้น
o Drone: อากาศยานไร้คนขับที่ควบคุมได้จากระยะไกล ช่วยลดการพึ่งพาแรงงาน ลดเวลาในการเข้าสำรวจพื้นที่จริงโดยเฉพาะในภาคเกษตร ตั้งแต่ขั้นตอนวางแผนก่อนเพาะปลูกจนถึงเก็บเกี่ยว รวมทั้งใช้ติดตามและค้นหาสัตว์ในฟาร์ม รวมถึงการพ่นสารเคมี หรือการใช้ในธุรกิจก่อสร้างเพื่อประเมินขนาดพื้นที่หรือสำรวจพื้นที่ในเขตอันตราย เป็นต้น
o Blockchain: ระบบการเก็บและบันทึกข้อมูลโดยกระจายฐานข้อมูลให้ผู้ที่อยู่ในเครือข่ายแบ่งปันข้อมูลกันได้ แต่จำกัดการเข้าถึงด้วยการเข้ารหัส จึงมีความปลอดภัยสูง มักใช้ในธุรกรรมการเงินผ่านการใช้สินทรัพย์ดิจิทัล ปัจจุบันถูกนำไปใช้ในภาคเกษตรมากขึ้น เช่น การตรวจสอบย้อนกลับเพื่อสร้างความโปร่งใสของที่มาผลผลิต รวมทั้งใช้ร่วมกับ Cloud computing ในธุรกิจโลจิสติกส์เพื่อติดตามและประเมินผลระบบการจัดส่งสินค้า เป็นต้น
o Edge computing: ระบบประมวลผล Big data ที่เชื่อมโยงข้อมูลด้านความต้องการของผู้บริโภคไปสู่การปรับเปลี่ยนสายการผลิตหรือรูปแบบธุรกิจแบบทันเวลา (Real time) เพื่อสนองตอบพฤติกรรมผู้บริโภคอย่างรวดเร็ว ส่วนใหญ่ใช้ในธุรกิจด้านสุขภาพ นันทนาการ และขนส่ง รวมถึงใช้ประเมินสภาพอากาศและโอกาสเกิดอุบัติเหตุเพื่อวางแผนในธุรกิจโลจิสติกส์ เป็นต้น
o Quantum computing: การพัฒนาระบบประมวลผลของคอมพิวเตอร์ผ่านอนุภาคย่อยของอะตอมแทนการใช้เลขฐานสอง ช่วยเพิ่มความรวดเร็วและเพิ่มความสามารถในการเรียนรู้ของ AI ปัจจุบันการพัฒนาเทคโนโลยีนี้สามารถนำมาประยุกต์ใช้เชิงพาณิชย์ในการผลิตอุปกรณ์อัจฉริยะ เช่น รถยนต์ไร้คนขับ หุ่นยนต์ เป็นต้น
o 3D printing: เทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติช่วยควบคุมการออกแบบและผลิตสินค้าด้วยต้นทุนต่ำและมีความรวดเร็ว ปัจจุบันมีบทบาทมากขึ้นในห่วงโซ่อุปะทานของภาคอุตสาหกรรม ทั้งด้านการพัฒนาชิ้นส่วนอุปกรณ์และการนำวัสดุกลับมาใช้ในการพิมพ์ใหม่อีกครั้ง (Recycle bot) อาทิ การผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ชิ้นส่วนอากาศยาน อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์เครื่องมือแพทย์และการผลิตฟันปลอม รวมถึงใช้ในโครงการก่อสร้าง เช่น การออกแบบสร้างอาคารที่ทำได้เร็วขึ้น
o Synthetic biology: ส่วนใหญ่ประยุกต์ใช้เพื่อผลิตเนื้อสังเคราะห์ประเภท Cultured meat ซึ่งผลิตเนื้อสัตว์จากสะเต็มเซลล์ของสัตว์ต้นแบบทั้งเนื้อวัว ไก่ หมู และปลาทูน่า และ Plant-based meat เป็นการผลิตเนื้อสัตว์จากพืชที่มีลักษณะและรสชาติเหมือนเนื้อจริง ช่วยลดการบริโภคเนื้อสัตว์จริงและลดความเสี่ยงจากการขาดแคลนอาหารกรณีเกิดโรคระบาดในสัตว์ รวมถึงช่วยตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มผู้สูงอายุที่เพิ่มจำนวนมากขึ้น
o Data analytics: เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big data) อย่างเป็นระบบเพื่อช่วยผู้ประกอบการนำเสนอบริการและผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ดังตัวอย่างการนำไปใช้ในธุรกิจท่องเที่ยว โดยการวิเคราะห์ข้อมูลในอดีตเพื่อคาดการณ์การเติบโตของอุปสงค์และเสนอแพ็กเกจท่องเที่ยวที่ตรงใจนักท่องเที่ยวรายบุคคล
• ห่วงโซ่มูลค่าโลกหดสั้นลง เพิ่มแรงกดดันด้านการแข่งขัน ทิศทางการกีดกันทางการค้าที่ยังมีต่อเนื่อง และการหันมาพึ่งพาตนเองของประเทศมหาอำนาจโดยแข่งขันกันพัฒนาเทคโนโลยีสมัยใหม่ในอุตสาหกรรมต้นน้ำของตน ตลาดจนผลจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ทำให้เกิดการหยุดชะงักในห่วงโซ่การผลิต เช่นกรณีที่โรงงานประกอบรถยนต์หลายแห่งต้องหยุดผลิตชั่วคราวจากปัญหาการขาดแคลนชิป เหตุเหล่านี้นับเป็นปัจจัยเสี่ยงที่เร่งให้ผู้ประกอบการหันมาพึ่งพาแหล่งวัตถุดิบในภูมิภาคเดียวกันมากขึ้น ทำให้ห่วงโซ่มูลค่าโลกมีทิศทางหดสั้นลงเร็วขึ้น และกดดันให้การแข่งขันในตลาดโลกรุนแรงขึ้นจากช่องทางการค้าที่แคบลง (ภาพที่ 3) กลุ่มประเทศที่ยังมีโอกาสทางการค้าส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่เน้นการผลิตสินค้าต้นน้ำ (ส่วนเริ่มต้นที่เป็นฐานการผลิต) หรือปลายน้ำ (ส่วนสุดท้ายของขั้นตอนการผลิต) ที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้สูงบนห่วงโซ่มูลค่าโลก ได้แก่ สหรัฐฯ ยุโรป และจีน (World Bank, 2020) ส่วนประเทศที่ยังเน้นผลิตในส่วนกลางน้ำ ซึ่งมักเป็นการรับจ้างประกอบสินค้าในบางอุตสาหกรรมเช่น อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ และรถยนต์ จะสร้างมูลค่าเพิ่มได้น้อยลงจากการแข่งขันที่สูงขึ้น ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมในกลุ่มหลังนี้จึงต้องปรับตัวโดยเปลี่ยนตำแหน่งยืนบนห่วงโซ่อุปะทานโลกไปสู่การผลิตในส่วนต้นน้ำหรือปลายน้ำมากขึ้น จากการประเมินของวิจัยกรุงศรีพบว่าอุตสาหกรรมสำคัญของไทยที่ควรขยับไปต้นน้ำมากขึ้น เช่น รถยนต์ คอมพิวเตอร์ ปิโตรเลียม เป็นต้น ส่วนอุตสาหกรรมที่ควรมุ่งผลิตสินค้าปลายน้ำมากขึ้น เช่น อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมเครื่องจักร เป็นต้น (ภาพที่ 4) โดยควรเน้นใช้ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างพันธมิตรกับประเทศที่มีศักยภาพในการแข่งขันสูงบนเวทีโลก เพื่อให้อุตสาหกรรมข้างต้นของไทยสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มและรักษาตำแหน่งบนห่วงโซ่อุปtทานของโลกได้อย่างยั่งยืน
(รายละเอียดเพิ่มเติมติดตามได้ที่ อุตสาหกรรมไทย: อยู่ตรงไหนและจะแข่งขันอย่างไรในเวทีโลก)
• การรวมกลุ่มการค้าโลกมุ่งสู่การสร้างพันธมิตรภายในภูมิภาคเดียวกัน (Regional trade blocs) มากขึ้น การรวมกลุ่มล่าสุดที่กำลังเกิดขึ้น ได้แก่ ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (Comprehensive and Progressive Agreement of Trans-Pacific Partnership: CPTPP) และความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership: RCEP) โดย CPTPP มีสมาชิก 11 ประเทศ ได้แก่ ญี่ปุ่น แคนาดา เม็กซิโก เปรู ชิลี ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ มาเลเซีย บรูไน และเวียดนาม ซึ่งไทยยังไม่มีนโยบายชัดเจนที่จะเข้าร่วม จากข้อกังวลด้านสิทธิคุ้มครองการผูกขาดที่อาจทำให้ไทยเสียเปรียบโดยเฉพาะอุตสาหกรรมเกษตรและยา ขณะที่ RCEP ประกอบด้วยสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ และประเทศคู่ค้าอาเซียนอีก 5 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย จีน ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์และเกาหลีใต้ ซึ่งได้มีการลงสัตยาบันครบจำนวนตามเงื่อนไข[1] ทำให้ RCEP มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2565 โดยสมาชิก RCEP จะลดภาษีสินค้าเป็นศูนย์เฉลี่ย 90% ของรายการสินค้า (ทยอยลดภาษีภายใน 10-20 ปีตามความพร้อมของแต่ละประเทศ) วิจัยกรุงศรีประเมินว่าไทยน่าจะได้ประโยชน์จากการเข้าร่วม RCEP ในกลุ่มผลไม้สดและแปรรูป สินค้าประมง ยางพารา ผลิตภัณฑ์ยางรถยนต์และส่วนประกอบ พลาสติก เคมีภัณฑ์ ชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้า และคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ ทั้งนี้ แม้ผลประโยชน์โดยรวมจากการลดภาษีอาจมีไม่มาก เนื่องจากประเทศสมาชิก RCEP ต่างมีข้อตกลงการค้าเสรีกับไทยอยู่ก่อนแล้ว แต่ในระยะยาว RCEP จะเสริมสร้างความมั่นคงให้กับห่วงโซ่การผลิตของไทยภายในภูมิภาคสำหรับอุตสาหกรรมที่ไทยมีฐานการผลิตที่แข็งแกร่งอยู่แล้วโดยเฉพาะรถยนต์และส่วนประกอบ ปิโตรเคมี และพลาสติก นอกจากนี้ มูลค่าตลาดของ RCEP ที่มีขนาดใหญ่ยังช่วยสร้างความได้เปรียบให้กับสมาชิกในการเชื่อมโยงเศรษฐกิจเข้ากับห่วงโซ่การผลิตของโลก (Global supply chain)[2] ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า (ภาพที่ 5)
เศรษฐกิจไทยปี 2565-2568: ฟื้นตัวจากภาคส่งออกและการเข้าสู่วัตจักรการลงทุน
เศรษฐกิจไทยคาดว่าจะขยายตัวเฉลี่ย 3.7% ต่อปี โดยทยอยฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปจากไตรมาสสุดท้ายของปี 2564 (ภาพที่ 6) ปัจจัยสนับสนุนได้แก่ (1) การฉีดวัคซีนที่มีความคืบหน้าทำให้สถานการณ์ COVID-19 คลี่คลายลง ส่งผลบวกต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศ เมื่อประกอบกับการปรับตัวและดำเนินชีวิตแบบวิถีใหม่ (New normal) รวมถึงการก้าวไปสู่โลกดิจิทัลมากขึ้น จะช่วยกระตุ้นความต้องการสินค้าและบริการในกลุ่มที่เกี่ยวข้อง (2) การฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยวเป็นลำดับหลังจากไทยเริ่มเปิดประเทศตั้งแต่ช่วงปลายปี 2564 แต่นโยบายของประเทศต้นทางที่เข้มงวดและความไม่แน่นอนของการระบาดจะยังเป็นข้อจำกัดต่อไป คาดว่าอาจต้องใช้เวลาจนถึงปี 2568 กว่าที่จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติจะกลับสู่ระดับก่อนการระบาดได้ (3) ภาคส่งออกเติบโตต่อเนื่องและยังคงเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญของเศรษฐกิจ เนื่องจากการฟื้นตัวของอุปสงค์โลกและประเทศคู่ค้า กอปรกับผลบวกจากการรวมกลุ่มระหว่างประเทศภายในภูมิภาคเดียวกัน (Regionalization) โดยเฉพาะ RCEP ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ช่วงต้นปี 2565 น่าจะมีส่วนเสริมภาคการค้าในระยะต่อไป อย่างไรก็ตาม การส่งออกอาจเผชิญแรงกดดันจากปัญหาด้านอุปะทานทั้งการขาดแคลนวัตถุดิบและต้นทุนที่อาจปรับตัวสูงขึ้น รวมถึงมาตรการกีดกันทางการค้าที่ยังมีอยู่เป็นระยะๆ (4) การลงทุนของภาคเอกชนมีแนวโน้มเติบโตตามวัตจักรการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและไทย ผนวกกับแรงหนุนจากการยกระดับการผลิตเพื่อเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัล รวมทั้งความคืบหน้าของการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ และ (5) มาตรการกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจ ซึ่งรวมทั้งการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีและการใช้เงินกู้ที่เหลืออยู่จาก พ.ร.ก. กู้เงิน 5 แสนล้านบาท ด้านนโยบายการเงิน คาดว่าธปท.จะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 0.5% ต่อเนื่องอย่างน้อยจนถึงสิ้นปี 2565 อีกทั้งยังดำเนินมาตรการด้านการเงินเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยและภาคธุรกิจ ด้วยการเสริมสภาพคล่องและการปรับโครงสร้างหนี้ การผ่อนคลายหลักเกณฑ์ เพื่อสนับสนุนการให้ความช่วยเหลือของสถาบันการเงินแก่ลูกหนี้ และการผ่อนคลายมาตรการ LTV เป็นการชั่วคราวเพื่อช่วยกระตุ้นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
แม้เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวแต่ยังมีปัจจัยที่จำกัดการเติบโตในระยะข้างหน้า อาทิ ความเปราะบางของตลาดแรงงาน การเพิ่มขึ้นของภาระหนี้ทั้งในภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจ ซึ่งทำให้การใช้จ่ายในประเทศอาจเติบโตในอัตราต่ำ สำหรับปัจจัยเสี่ยงและความไม่แน่นอนอื่นๆ อาทิ การกลายพันธุ์ของไวรัส COVID-19 ความตึงเครียดทางการเมืองอาจกระทบต่อความต่อเนื่องในการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจของภาครัฐ นอกจากนี้ ตลาดการเงินโลกและไทยอาจเผชิญความผันผวนและประสบปัญหาต้นทุนทางการเงินที่เพิ่มขึ้นอันเป็นผลข้างเคียงจากการที่ประเทศแกนหลักของโลกทยอยปรับลดแรงกระตุ้นทางการเงินให้เข้าสู่ภาวะปกติมากขึ้น (Policy normalization)
การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน…จะมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยรวม
ในระยะ 2-3 ปีข้างหน้า การเร่งตัวของการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่จะเป็นอีกปัจจัยที่มีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจ (ภาพที่ 7) โดยเฉพาะเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) ที่จะช่วยดึงดูดการลงทุนโดยตรง (FDI) จากต่างประเทศ โดยโครงการสำคัญ ได้แก่ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก โครงการท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 และโครงการพัฒนาท่าเรือมาบตาพุดระยะที่ 3 ล่าสุดทางการตั้งเป้าหมายลงทุนใน EEC ระยะที่ 2 ในช่วง 5 ปีข้างหน้า (ปี 2565-2569) วงเงิน 2.2 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะแรกที่ตั้งเป้าไว้ 1.7 ล้านล้านบาท (2561-2564) นอกจากนี้ ในปี 2565 ภาครัฐระบุจะเร่งขับเคลื่อนโครงการสำคัญให้เกิดเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะโครงการเชื่อมระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน (แลนด์บริดจ์) ซึ่งจะเชื่อมระบบการขนส่ง (Logistic) ระหว่าง EEC กับพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ (Southern Economic Corridor: SEC)
นอกจากนี้ โครงข่ายคมนาคมอื่นๆ ที่คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ในช่วงปี 2565-2568 ตามแผนปฏิบัติการด้านคมนาคมขนส่งระยะเร่งด่วนฉบับล่าสุด พ.ศ. 2561 ภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของไทยระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) ได้แก่
1. โครงการระบบราง เช่น โครงการรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-นครราชสีมา (รถไฟไทย-จีน ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา) รวม 4 สัญญา ระยะทางรวมประมาณ 80 กม. โครงการรถไฟทางคู่ช่วงขอนแก่น-หนองคาย ระยะที่ 2 ระยะทาง 167 กม. รวมถึงโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ ระยะทาง 23.6 กม.
2. โครงการระบบถนน อาทิ ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (Motorway) สายบางขุนเทียน-บ้านแพ้ว (M82) ช่วงเอกชัย-บ้านแพ้ว ระยะทาง 16.4 กม.
3. โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำคัญอื่นๆ เช่น โครงการพัฒนาอาคารผู้โดยสารส่วนต่อขยายด้านทิศเหนือ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (Terminal 2) คาดเปิดประมูลและดำเนินการก่อสร้างปี 2565 แล้วเสร็จปี 2567 สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 30 ล้านคน/ปี โครงการพัฒนาขยายท่าอากาศยานดอนเมืองระยะที่ 3 คาดได้ผู้รับเหมาไม่เกินสิ้นปี 2564 ใช้เวลาก่อสร้าง 2 ปี เปิดให้บริการปี 2567
หากการลงทุนสามารถดำเนินการได้ตามแผน คาดว่าจะช่วยหนุนโอกาสการลงทุนในอุตสาหกรรมต่อเนื่องให้กระจายสู่ภูมิภาค โครงการนิคมอุตสาหกรรม ฮับโลจิสติกส์และพลังงานไฟฟ้าทดแทน มองเห็นโอกาส โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) การแพทย์สมัยใหม่ สมาร์ทอิเล็กทรอนิกส์ ดิจิทัล อุตสาหกรรมเกษตรและอาหารสมัยใหม่ เป็นต้น
ปัจจัยแวดล้อมในภาคธุรกิจ/อุตสาหกรรม
โครงการนิคมอุตสาหกรรม ฮับโลจิสติกส์และพลังงานไฟฟ้าทดแทน
ปัญหาเชิงโครงสร้างบั่นทอนความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมไทย
ดัชนีชี้วัดความสามารถในการแข่งขันของไทย (IMD World Competitiveness Ranking) ปี 2564 อยู่ที่อันดับ 28 ทรงตัวใกล้เคียงกับปี2563 (อันดับ 29) แม้ว่าไทยจะมีพัฒนาการดีขึ้นในด้านประสิทธิภาพของภาครัฐ (Government efficiency) และการจัดการทางธุรกิจ (Business efficiency) แต่การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 กระทบภาคท่องเที่ยวรุนแรง ส่งผลให้สมรรถนะทางเศรษฐกิจ (Economic performance) ของไทยลดลงถึง 7 อันดับมาอยู่ที่ 21 (ภาพที่ 8) ขณะที่ปัจจัยด้านโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) มีความคืบหน้าน้อยมาก สำหรับปัจจัยด้านทักษะทางเทคโนโลยี/ดิจิทัล ไทยมีอันดับสูงกว่าอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ แต่ต่ำกว่าสิงคโปร์และมาเลเซียค่อนข้างมาก ส่วนหนึ่งเป็นผลจากไทยขาดแคลนบุคลากรที่มีคุณภาพซึ่งกระทบต่อเนื่องถึงการพัฒนาสิทธิบัตรและนวัตกรรมใหม่ อันเป็นปัจจัยที่จะส่งผลต่อการพัฒนาความพร้อมของกำลังแรงงานเพื่อยกระดับภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการในระยะข้างหน้า ด้านสัดส่วนค่าใช้จ่ายรวมด้านการวิจัยและพัฒนา (R&D) ของไทยอยู่ที่ระดับเพียง 1.14% ของ GDP (ภาพที่ 9) ต่ำสุดเมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่งในเอเชีย สะท้อนถึงทิศทางการพัฒนานวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าและบริการให้สอดคล้องกับการแข่งขันในตลาดโลกยังต้องใช้เวลาอีกยาวไกล เมื่อเทียบกับประเทศที่มีความสามารถในการแข่งขันสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ สวิตเซอร์แลนด์ สวีเดน เดนมาร์ก เนเธอร์แลนด์ และสิงคโปร์ ซึ่งมีปัจจัยสนับสนุนสำคัญด้านการลงทุนในนวัตกรรม (Innovation) การนำเทคโนโลยีมาใช้ (Digitalization) ระบบสวัสดิการที่ดี (Welfare benefits) และมีความสมานฉันท์ในสังคม (Social cohesion)
เนื่องจาก บริษัท บริษัท บิ๊กดีล เอ็นเตอร์ไพรซ์ จำกัด(นโยบายประชารัฐ ภาคเอกชน) ไทยเพิ่มสุข โดย กระผม ดร.ชยณัฎฐ์ แสงมณี กรรมการผู้จัดการลงนามของบริษัทฯ ได้จัดทำโครงการนิคมอุตสาหกรรม ฮับโลจิสติกส์และพลังงานไฟฟ้าทดแทน (อ.ต.ก.นิวส์) ประชารัฐ ภาคเอกชน ) เพื่อเกษตรกรเพื่อผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส เพื่อวางแผน อาหาร การสร้างความมั่งคงและการอยู่อาศัยสนับสนุน โดย นโยบาย รัฐบาล กระทรวงเกษตรกรและสหกรณ์ และกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ที่นี้ดำเนินโครงการตามวิธีการให้ถูกต้องตาม วัตถุประสงค์ของโครงการ ดังนี้
ประเทศไทยกำลังจะก้าวเข้าสู่การแข่งขั้นทางการตลาดด้างการเกษตรที่สูงในภูมิภาค EEC และประชากรไทยได้เข้าสู่ สังคมผู้สูงอายุ การเปลี่ยนแปลงและเตรียมพร้อมให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ ดี และใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุขเป็นเรื่องสำคัญ สภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้ผู้สูงอายุ ต้องเผชิญกับปัญหาในการปรับตัวเพื่อให้สอดคล้องกับสังคมปัจจุบัน ทั้งในด้านความคิด ความเข้าใจและค่านิยม ต่างๆประกอบกับวัยสูงอายุเป็นวัยที่ต้องเผชิญกับรูปแบบการดำเนินชีวิตแบบใหม่ ผู้สูงอายุที่มีศักยภาพในด้านภูมิ ความรู้ ภูมิธรรม ภูมิปัญญา สมควรส่งเสริมให้เป็นทรัพยากรที่เข้มแข็งและมีคุณค่าให้ยาวนานที่สุด โดยนำจุดแข็งนี้ มาสร้างโอกาสในการพัฒนาสังคม กิจกรรมที่เป็นประโยชน์นี้จะทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกมีความสุขได้บริหารกาย จิต สังคม เป็นบุคคลที่พัฒนาไปตามกาลสมัยพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงพึ่งตนเองได้และสามารถเป็นพลังให้การพึ่งพา แก่ชุมชนและสังคม ซึ่งปัจจุบันทั่วประเทศมีผู้สูงอายุที่เป็นภูมิปัญญาและมีชมรมคลังปัญญาผู้สูงอายุ ซึ่ง ประกอบด้วยสมาชิกผู้สูงอายุ ที่ขึ้นทะเบียนเป็นผู้มีความรู้และมีจิตอาสาพร้อมจะถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ ให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม แต่ขาดโอกาส ขาดพื้นที่ในสังคม ขาดงบประมาณ และช่องทางในการเผยแพร่ ภูมิ ปัญญา
ดร.ชยณัฎฐ์ แสงมณี ประธานกรรมการ บริษัท บิ๊กดีล เอ็นเตอร์ไพรซ์ จำกัด เป็นผู้ประกอบกิจการในธุรกิจก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ โดยมีผลงานในการก่อสร้างและพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์เป็นจำนวนมาก เนื่องด้วยบริษัทฯ เป็นผู้ประกอบกิจการในจังหวัดนครปฐม และได้เล็งเห็นว่ารัฐบาลกำลังผลักดันและดำเนินโครงการประชารัฐด้านต่างๆเป็นจำนวนมาก บริษัทฯจึงมีความประสงค์ที่จะมีส่วนร่วมในการพัฒนาด้านดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยเฉพาะด้านโดยเฉพาะการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงวัย ที่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ และปัจจุบันได้ดำเนินการอยู่นั้น มีผู้ร่วมทุนและมีงบประมาณที่มีจำนวนมากพอที่จะ ขยายกิจการมาทำธุรกิจการตลาดเพื่อสมาชิกสหกรณ์ตลอดจนประชาชนที่สนใจในการค้าขายในโครงการนิคมอุตสาหกรรม ฮับโลจิสติกส์และพลังงานไฟฟ้าทดแทน
นโยบายภาครัฐและแนวทางของ องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) ประชารัฐ ภาคเอกชน ) บริหารการโครงการและพัฒนาธุรกิจ เรานำมาใช้และปรับปรุงให้ดีขึ้น บริหารการจัดการที่ดี โดย ดร.ชยณัฎฐ์ แสงมณี ซึ่งมีความประสงค์ที่จะก่อตั้งโครงการนิคมอุตสาหกรรม ฮับโลจิสติกส์และพลังงานไฟฟ้าทดแทน ประชารัฐ ภาคเอกชน เพื่อสมาชิกของโครงการ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ของโครงการที่คล้ายกันและเพื่อประชาชนคนไทยทุกคนได้ผลประโยชน์จากโครงการด้วยกันทั้งสิ้น เช่นโครงการที่เกี่ยวเนื่องใน นิคมอุตสาหกรรมแห่งนี้
-โครงการ สร้างงานสร้างอาชีพให้กับสมาชิก เพื่อความอยู่รอยและมั่นคง ให้กับสมาชิก
-โครงการ ส่งเสริมการเรียนรู้ และรักษาวัฒนธรรมประเพณี ให้กับสมาชิก
-โครงการ จัดหาและประกอบอาหารตลอดจนเครื่องอุประโภคและบริโภค ให้กับสมาชิก
-โครงการ ส่งเสริมเกษตรกรผลินสินค้าปลอดสารพิษ เพื่อสมาชิก โครงการ ผู้สูงอายุ
-โครงการ ขนส่งและบริการจัดหาสินค้าเพื่อสมาชิกโครงการ ผู้สูงอายุ
-โครงการ แพลตฟอร์ม ดิจิตอล และสถาบันการเงิน เพื่อสมาชิกของ โครงการผู้สูงอายุ
-โครงการ ส่งเสริมการท่องเที่ยวทั่วไทยเชิงวัฒนธรรม การบริโภค ของสมาชิก
-โครงการ ส่งเสริมการลงทุน จัดทำอุสาหกรรม สินค้าอุประโภคและบริโภค เพื่อผู้สูงวัย
จึงเขียนโครงการนิคมอุตสาหกรรม ฮับโลจิสติกส์และพลังงานไฟฟ้าทดแทน เพื่อลงทุนในกิจการของรัฐ ตาม พ.รบ.ส่งเสริมการลงทุน ปี 2562 และได้ร่วมประชุม ศึกษาหาแนวทางการลงทุนและขอสนับนุการลงทุนในกิจการของภาครัฐ 2567 ต่อ หน่วยงานของรัฐ ผ่าน องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) จังหวัด นนทบุรี ผ่านท่าน ผู้ว่าราชการจังหวัด นนทบุรี เพื่อขอรับการสนับสนุน นโยบายการทำงานและขอรับการสนับสนุนนโยบายโครงการ ในเวลานั้น
องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) ประชารัฐ ภาคเอกชน ได้ทำหนังสือถึง สำนักงานสหกรณ์บริการต่างๆและสหกรณ์ออมทรัพย์ เพื่อการเกษตรกร จังหวัดนนทบุรี และชุมสหกรณ์ออมทรัพย์ แห่งประเทศไทยได้ ทราบถึงหลักการและวัตถุประสงค์ของโครงการ เพื่อให้สมาชิกของ สมาชิกสหกรณ์ฯ ในพื้นที่ โครงการ ได้รับทราบถึงการบริการและเนื้อหาของโครงการที่ดีๆ เพื่อเป็นการวางแผนการค้าขายและขอรับการส่งเสริม จากโครงการ องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) ประชารัฐภาคเอกขน ให้ได้รับบริการและส่งเสริมอย่างทั่วถึง และได้รับลักษณะการให้บริการการส่งเสริมในรูปแบบใหม่ที่ทันสมัยที่ดี ตามนโยบายของรัฐบาล ปี 2567
โครงการนิคมอุตสาหกรรม ฮับโลจิสติกส์และพลังงานไฟฟ้าทดแทน
ลักษณะโครงการ ประกอบด้วย 5 ส่วน
ส่วนที่ 1 เป็นพื้นที่ โครงการซีเนี่ยร์คอมเพล็กซ์ ที่พักสำหรับผู้สูงอายุ เปิดบริการจำนวน 350- 880 unit งบประมาณ โครงการ 800 ล้านบาท
ส่วนที่ 2 เป็นพื้นที่ ลานจำหน่าย โครงการองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) ภาคเอกชน งบประมาณ โครงการ 2,500 ล้านบาท
ส่วนที่ 3 เป็นพื้นที่ Compact จัดไว้ สำหรับผู้สูงอายุและประชาชนคนไทยทุกคน สามารถรองรับ สมาชิก ได้ถึง 10,000 คน งบประมาณ โครงการ 400 ล้านบาท
ส่วนที่ 4 เป็นพื้นที่ โครงการนิคมอุสาหกรรมผลิตและประกอบ สินค้าอุประโภคและบริโภค องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร และอุตสาหกรรม พลังงานไฟฟ้าทดแทน งบประมาณ โครงการ 3,500 ล้านบาท
ส่วนที่ 5 เป็นพื้นที่ โครงการนิคมอุตสาหกรรม ฮับโลจิสติกส์และ คลังและ สินค้าระบบขนส่งกระจายสินค้า องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) ภาคเอกชน งบประมาณ โครงการ 1,500 ล้านบาท
ร่วม งบประมาณ โครงการละ 8,700 ล้านบาท (แปดพันเจ็ดร้อยล้านบาท)
การจัดการโครงการมีการลงทุนการก่อสร้างมีหลักการคัดเลือกสรรหาที่ดินในการก่อสร้างดังนี้
1.การใช้พื้นที่ของรัฐบาลโดยการ ขอใช้พื้นที่ของรัฐบาลผ่าน กรม ธนารักษ์,ที่ดินราชพัสดุ,ที่ดินของหน่วยงานรัฐหรือ กรมป่าไม้ เพื่อการเช่าระยะยาวทำโครงการ
2.การใช้พื้นที่ ของสำนักงาน องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) ที่มีในปัจจุบัน ที่เสื่อมโทรมขากการพัฒนาที่ดีและไม่ใช้ประโยชน์ ให้ถูกวัตถุประสงค์ หรือ พื้นที่นิติบุคคล เช่น สหกรณ์บริการต่างๆหรือสหกรณ์ออมทรัพย์ฯ โดยการขอจัดซื้อระหว่างหน่วยงานโดยการทำข้อตำลงต่างๆร่วมกัน
3.การใช้ที่ดิน ของเอกชนโดยการจัดซื้อที่ดินทำโครงการดังกล่าว
แผนงานการก่อสร้าง แบ่งเป็น 5 ระยะ
จึงขอกู้เงินเพื่อพัฒนา และจัดหาที่ดินพร้อมการก่อสร้าง ตามแผนงาน 5 ระยะโครงการดังกล่าวให้ดำเนินการจัดการและก่อสร้างได้จริง ตามแบบแปลนที่นำเสนอต่อหน่วยงานรัฐและออกแบบมาได้ มาตรฐานแล้วนั้น
เจ้าของโครงการ บริษัท บิ๊กดีล เอ็นเตอร์ไพรซ์ จำกัด
ประเภทธุรกิจ ธุรกิจห้างสรรพสินค้า,อสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจโรงแรม
ก่อตั้งเมื่อ 3 คุลาคม 2553
ทุนจดทะเบียน 10,000,000 บาท
เงินลงทุนของโครงกาและงบประมาณ รวมมูลค่าการก่อสร้างโครงการทั้งสิ้น
งบประมาณการก่อสร้างรวม 574,200 ล้านบาท ( ห้าแสนเจ็ดหมื่นสี่พันสองร้อยล้านบาทถ้วน)
เงินกู้ โครงการทั้งสิ้น 574,200. ล้านบาท
ระยะเวลาคืนทุน รายงานตามเอกสารท้ายรายการ 10 ปี
งบประมาณในส่วนต่อไปจะเริ่มดำเนินการเมือมีความพร้อม ใน ปี 2567 จะทยอยเบิกเป็นงวดๆไปตามความเป็นจริง ให้ครบ ในการทำงาน จำนวน 574,200. ล้านบาท ( ห้าแสนเจ็ดหมื่นสี่พันสองร้อยล้านบาทถ้วน)
กระผม บริษัท บิ๊กดีล เอ็นเตอร์ไพรซ์ จำกัดโดย กรรมการผู้จัดการลงนามของบริษัทเป็นผู้ประกอบกิจการห้างสรรพสินค้า ร้านค้าปลีกและในธุรกิจก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ ในจังหวัด ขอนแก่น เป็นระยะเวลายาวนานร่วม 35 ปี โดยมีผลงานในการก่อสร้าง และพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์มากด้วยประสบการณ์ ดำเนินการพัฒนาโครงการ จัดสรรที่พักอาศัยเพื่อผู้สูงวัยพร้อมให้การบริการเป็นอย่างดีและทั่วถึงในการให้บริการคอยดูแลแบบครบวงจร ที่เป็นสากลของโลกและภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน
ดร.ชยณัฎฐ์ แสงมณี
ประธาน กรรมการบริหาร
บริษัท บิ๊กดีล เอ็นเตอร์ไพรซ์ จำกัด
ที่มาของ โครงการ องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) ประชารัฐ ภาคเอกชน
โครงการ อ.ก.ต.นนทบุรี ไทยเพิ่มสุข (โมเดล หลักเมือง นนทบุรี)
(นโยบายประชารัฐ ภาคเอกชน) ไทยเพิ่มสุข
เจ้าของโครงการ บริษัท บิ๊กดีล เอ็นเตอร์ไพรซ์ จำกัด
ประเภทธุรกิจ ธุรกิจห้างสรรพสินค้า,อสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจโรงแรม
ก่อตั้งเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2546
ทุนจดทะเบียน 10,000,000 บาท
งบประมาณการก่อสร้างรวม 574,200ล้านบาท
( ห้าแสนเจ็ดหมื่นสี่พันสองร้อยล้านบาทถ้วน)
ที่ตั้งโครงการ ๆ มี 5 ระยะ สถานที่ แยกได้ดังนี้
โครงการนิคมอุตสาหกรรม ฮับโลจิสติกส์และพลังงานไฟฟ้าทดแทน รวมมูลค่าการก่อสร้างโครงการทั้งสิ้น 574,200 ล้านบาท
(ห้าแสนสี่หมื่นสองร้อยล้านบาท ถ้วน
วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งโครงการ นนทบุรี (โมเดล หลักเมือง นนทบุรี)
องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) ประชารัฐ ภาคเอกชน ) บริหารการโครงการและพัฒนาธุรกิจ โดย ดร.ชยณัฎฐ์ แสงมณี ประธานโครงการกรรมการบริหาร บริษัท บิ๊กดีล เอ็นเตอร์ไพรซ์ จำกัด ได้ขอรับ การลงทุนในกิจการของรัฐ ซึ่งภาคเอกชนมี เจตจำนง ขอรับการสนับสนุนนโยบายการประกอบการและหรือร่วมการประกอบการ ซึ่ง องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการจัดทำและการจัดตั้งคณะกรรมการตลอดจนที่ปรึกษาโครงการ ดังนี้
วัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง โครงการนิคมอุตสาหกรรม ฮับโลจิสติกส์และพลังงานไฟฟ้าทดแทน (ภาคเอกชน)
องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงเกษตรและ
สหกรณ์ จัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร พ.ศ. 2517 เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2517 โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1. จัดตั้งตลาดเพื่อให้เป็นแหล่งกลางในการซื้อขายผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร และสินค้าอื่น ๆ เพื่อประชาชนคนไทยทุกคนและการวางแผนเพื่อการบริโภคในประเทศรวมถึงโครงการอาหารเพื่อผู้สูงอายุ
2. ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรส่งผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรและสินค้าอุตสาหกรรมในครัวเรือนมาจำหน่ายโดยตรงโดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง
3. ซื้อและจัดให้มีการซื้อผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร หรือสินค้าอุตสาหกรรมในครัวเรือน รวมทั้งเครื่องอุปโภคและบริโภคเพื่อจำหน่าย ภายในประเทศและต่างประเทศได้อย่างพอเพียง
4. ดำเนินการพยุงราคาผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรเพื่อผู้บริโภคในประเทศและโครงการอาหารของผู้สูงอายุไทย
5. ช่วยเหลือเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในการผลิต การจำหน่าย การตลาด การเก็บรักษาและการขนส่งซึ่งผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์การเกษตร ให้สอดคล้องกับการบริโภคในประเทศและต่างประเทศ
6. ดำเนินการหรือส่งเสริมให้ ภาคเอกชนต่าง ๆ และสถาบันเกษตรกรดำเนินการค้า ขนส่งและรับฝาก ซึ่งผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ปัจจัยในการผลิต วัสดุการเกษตร เครื่องมือเครื่องใช้ในการเกษตร หรือเครื่องอุปโภคและบริโภค ให้มีความมั่นคงในอาชีพและเพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค
7. ส่งเสริมให้มีการปรับปรุงคุณภาพ มาตรฐานและการผลิต ผลผลิตทางการเกษตรให้ตรงกับความต้องการของตลาดในประเทศ
8. ดำเนินการในฐานะเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในการประกอบการและชำนาญการที่มีองค์ความรู้และรับนโยบายของรัฐบาลและกระทรวง ทบวง กรม เพื่อจัดหาปัจจัยในการผลิตและเครื่องอุปโภคและบริโภค จำหน่ายให้แก่เกษตรกรในราคาอันสมควร
9. ส่งเสริมให้มีพื้นที่ประกอบการ ในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการผลิตอาหารและเครื่องอุปโภคบริโภคของคนไทยและสามารถจำหน่ายให้กับนานาชาติ มีการวางแผนงานอาหารและที่อยู่อาศัยให้กับผู้สูงวัย
10. จัดหาสถาบันการเงินที่วัตถุประสงค์ให้การสนับสนุนกิจกรรมการ ลงทุนให้บริการสินเชื่อรายย่อยและสินเชื่อโครงการ ให้ผู้ประกอบการ SME ในธุรกิจทุกธุรกิจในโครงการและการค้าขายใน ระบบออนไลน์ ออฟไลน์ ทั้งส่วนกลางและภูมิภาค ส่งเสริมให้สมาชิกมีรายได้และเข้าถึงการบริการสินเชื่อเพื่อการลงทุนจำหน่ายสินค้าในโครงการ
11. ร่วมมือการฟื้นฟู พื้นที่โครงการ องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ตั้งเดิมในแต่ละพื้นที่ ของหน่วยงานแต่ละจังหวัด นำมาปรับปรุงและพัฒนาใช้ได้จริงตาม พ.ร.บ.องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) ให้ใช้ประโยชน์ได้อย่างสมบูรณ์และเต็มรูปแบบครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ในการจัดทำ เพราะทางภาคเอกชนมีงบประมาณในการจัดทำโครงการฯ
12. ส่งเสริมธุรกิจที่ให้ความสำคัญของเกษตรกรและสมาชิกโครงการตลอดจน ประชาชนคนไทยทุกคน และอื่นๆ ตามที่คณะกรรมการ การจัดทำโครงการเห็นสมควร ดังกล่าวนี้ ดำเนินงานภายใต้การดูแลควบคุมของคณะกรรมการองค์การตลาดเพื่อเกษตรกรประชารัฐ ภาคเอกชน ประกอบด้วย
– ผู้แทนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นที่ปรึกษาประธานกรรมการ
– ผู้แทนสำนักงบประมาณ และผู้แทนกระทรวงการคลังเป็นที่ปรึกษากรรมการ
– กรรมการอื่นๆ อีกไม่เกิน 7 คน ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งโดยในจำนวนนี้ให้มีสถาบันเกษตรกรไม่น้อยกว่า 2 คน และผู้อำนวยการเป็นที่ปรึกษา กรรมการและที่ปรึกษาเลขานุการ
ทั้งนี้ สามารถดูรายละเอียดอำนาจหน้าที่ของ อ.ต.ก. เพิ่มเติมได้ โดยคลิกที่ "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง อ.ต.ก. พ.ศ. 2517" ด้านล่างามานี้
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
พระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง อ.ต.ก. พ.ศ.2517
พระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2518
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ 2543
ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560
พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560
พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ.2561
พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ.2561
ข้อบังคับองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร ว่าด้วยการดำเนินงานตลาดกลาง พ.ศ.2542
ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดโดยธรรมจรรยาของเจ้าพนักงานของรัฐ พ.ศ.2563
กฎกระทรวงกำหนดให้หน่วยงานอื่นเป็นเป็นหน่วยงานของรัฐ ตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560
ประมวลกฎหมายอาญา หมวด 2 ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ
พระราชบัญญัติ มาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ.2562
พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546
พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2562
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย พ.ศ.2536
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย พ.ศ.2564
ประมวลจริยธรรมสำหรับผู้บริหารและพนักงานรัฐวิสาหกิจ
พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562
บริหารการโครงการและพัฒนาธุรกิจ
โดย ดร.ชยณัฎฐ์ แสงมณี ประธานโครงการกรรมการบริหาร
โครงการ องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) ประชารัฐ ภาคเอกชน )
บริษัท บิ๊กดีล เอ็นเตอร์ไพรซ์ จำกัด
ภาครัฐมีดังนี้ องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร พ.ศ. 2517 เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2517
โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1. จัดตั้งตลาดเพื่อให้เป็นแหล่งกลางในการซื้อขายผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร และสินค้าอื่น ๆ
2. ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรส่งผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรและสินค้าอุตสาหกรรมในครัวเรือนมาจำหน่ายโดยตรงโดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง
3. ซื้อและจัดให้มีการซื้อผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร หรือสินค้าอุตสาหกรรมในครัวเรือน รวมทั้งเครื่องอุปโภคและบริโภคเพื่อจำหน่าย
4. ดำเนินการพยุงราคาผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร
5. ช่วยเหลือเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในการผลิต การจำหน่าย การตลาด การเก็บรักษาและการขนส่ง ซึ่งผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์การเกษตร
6. ดำเนินการหรือส่งเสริมให้สถาบันเกษตรกรดำเนินการค้า ขนส่งและรับฝาก ซึ่งผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ปัจจัยในการผลิต วัสดุการเกษตร เครื่องมือเครื่องใช้ในการเกษตร หรือเครื่องอุปโภคและบริโภค
7. ส่งเสริมให้มีการปรับปรุงคุณภาพ มาตรฐานและการผลิต ผลิตผลทางการเกษตรให้ตรงกับความต้องการของตลาด
8. ดำเนินการในฐานะตัวแทนของรัฐบาลและกระทรวง ทบวง กรม เพื่อจัดหาปัจจัยในการผลิตและเครื่องอุปโภคและบริโภค จำหน่ายให้แก่เกษตรกรในราคาอันสมควร
ดำเนินงานภายใต้การดูแลควบคุมของคณะกรรมการองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร ประกอบด้วย
– ผู้แทนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธานกรรมการ
– ผู้แทนสำนักงบประมาณ และผู้แทนกระทรวงการคลังเป็นกรรมการ
– กรรมการอื่นๆ อีกไม่เกิน 7 คน ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งโดยในจำนวนนี้ให้มีสถาบันเกษตรกรไม่น้อยกว่า 2 คน และผู้อำนวยการเป็นกรรมการและเลขานุการ
ทั้งนี้ สามารถดูรายละเอียดอำนาจหน้าที่ของ อ.ต.ก. เพิ่มเติมได้ โดยคลิกที่ "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง อ.ต.ก. พ.ศ.2517" ด้านล่าง
________________________________________
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
• พระราชกฤษฏีกาจัดตั้ง อ.ต.ก. พ.ศ.2517
• พระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2518
• พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ 2543
• ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560
• พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560
• พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ.2561
• พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ.2561
• ข้อบังคับองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร ว่าด้วยการดำเนินงานตลาดกลาง พ.ศ.2542
• ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดโดยธรรมจรรยาของเจ้าพนักงานของรัฐ พ.ศ.2563
• กฎกระทรวงกำหนดให้หน่วยงานอื่นเป็นเป็นหน่วยงานของรัฐ ตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560
• ประมวลกฎหมายอาญา หมวด 2 ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ
• พระราชบัญญัติ มาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ.2562
• พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546
• พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2562
• ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย พ.ศ.2536
• ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย พ.ศ.2564
• ประมวลจริยธรรมสำหรับผู้บริหารและพนักงานรัฐวิสาหกิจ
• พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562
โครงการนิคมอุตสาหกรรม ฮับโลจิสติกส์และพลังงานไฟฟ้าทดแทน
ดร.ชยณัฎฐ์ แสงมณี เป็นผู้ประกอบกิจการในธุรกิจก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ โดยมีผลงานในการก่อสร้างและพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์เป็นจำนวนมาก เนื่องด้วยบริษัทฯ เป็นผู้ประกอบกิจการในจังหวัดนครปฐม และได้เล็งเห็นว่ารัฐบาลกำลังผลักดันและดำเนินโครงการประชารัฐด้านต่างๆเป็นจำนวนมาก บริษัทฯจึงมีความประสงค์ที่จะมีส่วนร่วมในการพัฒนาด้านดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยเฉพาะด้านโดยเฉพาะการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงวัย ที่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ และปัจจุบันได้ดำเนินการอยู่นั้น มีผู้ร่วมทุนและมีงบประมาณที่มีจำนวนมากพอที่จะ ขยายกิจการมาทำธุรกิจการตลาดเพื่อสมาชิกสหกรณ์ตลอดจนประชาชนที่สนใจในการค้าขายในโครงการ องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร ประชารัฐ อ.ต.ก. ภาคเอกชน
บริหารการโครงการและพัฒนาธุรกิจ โดย ดร.ชยณัฎฐ์ แสงมณี ซึ่งมีความประสงค์ที่จะก่อตั้ง โครงการ องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) ประชารัฐ ภาคเอกชน เพื่อสมาชิกของโครงการ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ของโครงการที่คล้ายกันและเพื่อประชาชนคนไทยทุกคนได้ผลประโยชน์จากโครงการด้วยกัน
จึงจัดทำโครงการนิคมอุตสาหกรรม ฮับโลจิสติกส์และพลังงานไฟฟ้าทดแทน เพื่อลงทุนในกิจการของรัฐ ตาม พ.รบ.ส่งเสริมการลงทุน ปี 2562 และได้ร่วมประชุม ศึกษาหาแนวทางการลงทุนและขอสนับนุการลงทุนในกิจการของภาครัฐ 2567 ต่อ หน่วยงานของรัฐ ผ่าน องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) จังหวัด นนทบุรี ผ่านท่าน ผู้ว่าราชการจังหวัด นนทบุรี เพื่อขอรับการสนับสนุน นโยบายการทำงานและขอรับการสนับสนุนนโยบายโครงการ
โครงการนิคมอุตสาหกรรม ฮับโลจิสติกส์และพลังงานไฟฟ้าทดแทน
ลักษณะโครงการ ประกอบด้วย 5 ส่วน
ส่วนที่ 1 เป็นพื้นที่ โครงการซีเนี่ยร์คอมเพล็กซ์ ที่พักสำหรับผู้สูงอายุ เปิดบริการจำนวน 350- 880 unit งบประมาณ โครงการ 800 ล้านบาท
ส่วนที่ 2 เป็นพื้นที่ ลานจำหน่าย โครงการองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) ภาคเอกชน งบประมาณ โครงการ 2,500 ล้านบาท
ส่วนที่ 3 เป็นพื้นที่ Compact จัดไว้ สำหรับผู้สูงอายุและประชาชนคนไทยทุกคน สามารถรองรับ สมาชิก ได้ถึง 10,000 คน งบประมาณ โครงการ 400 ล้านบาท
ส่วนที่ 4 เป็นพื้นที่ โครงการนิคมอุสาหกรรมผลิตและประกอบ สินค้าอุประโภคและบริโภค องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร และอุตสาหกรรม พลังงานไฟฟ้าทดแทน งบประมาณ โครงการ 3,500 ล้านบาท
ส่วนที่ 5 เป็นพื้นที่ โครงการนิคมอุตสาหกรรม ฮับโลจิสติกส์และ คลังและ สินค้าระบบขนส่งกระจายสินค้า องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) ภาคเอกชน งบประมาณ โครงการ 1,500 ล้านบาท
การจัดการโครงการมีการลงทุนการก่อสร้างมีหลักการคัดเลือกสรรหาที่ดินในการก่อสร้างดังนี้
1.การใช้พื้นที่ของรัฐบาลโดยการ ขอใช้พื้นที่ของรัฐบาลผ่าน กรม ธนารักษ์,ที่ดินราชพัสดุ,ที่ดินของหน่วยงานรัฐหรือ กรมป่าไม้ เพื่อการเช่าระยะยาวทำโครงการ
2.การใช้พื้นที่ ของสำนักงาน องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) ที่มีในปัจจุบัน ที่เสื่อมโทรมขากการพัฒนาที่ดีและไม่ใช้ประโยชน์ ให้ถูกวัตถุประสงค์ หรือ พื้นที่นิติบุคคล เช่น สหกรณ์บริการต่างๆหรือสหกรณ์ออมทรัพย์ฯ โดยการขอจัดซื้อระหว่างหน่วยงานโดยการทำข้อตำลงต่างๆร่วมกัน
3.การใช้ที่ดิน ของเอกชนโดยการจัดซื้อที่ดินทำโครงการดังกล่าว
แผนงานการก่อสร้าง แบ่งเป็น 5 ระยะ
ระยะที่ 1 แผนงาน สร้างโมเดล โครงการ 10 จังหวัด
มูลค่าการก่อสร้างโครงการ งบประมาณ โครงการ 87,000 ล้านบาท (แปดหมื่นเจ็ดพันล้านบาท)
แยกดังนี้
1.จังหวัดชลบุรี 1 โครงการ ตำบล หินกอง อำเภอ เมือง จังหวัด ชลบุรี ( โครงการนิคมอุตสาหกรรม ฮับโลจิสติกส์และพลังงานไฟฟ้าทดแทน) บริษัท บิ๊กดีล เอ็นเตอร์ไพรซ์ จำกัดบริหารงานการก่อสร้าง โดย ดร.ชยณัฎฐ์ แสงมณี ประธานโครงการและกรรมการบริหารฯและคัดเลือกบริษัทฯมาร่วมบริหารการทำงาน
มูลค่าการก่อสร้างโครงการงบประมาณ 8,700 ล้านบาท (แปดพันเจ็ดร้อยล้านบาท)
2.จังหวัด เพชรบูรณ์ แยกได้ดังนี้ โครงการ อำเภอ หล่มสัก (โครงการนิคมอุตสาหกรรม ฮับโลจิสติกส์และพลังงานไฟฟ้าทดแทนและองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) ประชารัฐ ภาคเอกชน ) บริษัท บิ๊กดีล เอ็นเตอร์ไพรซ์ จำกัดบริหารงานการก่อสร้าง โดย ดร.ชยณัฎฐ์ แสงมณี ประธานโครงการและกรรมการบริหารฯและคัดเลือกบริษัทฯมาร่วมบริหารการทำงาน มูลค่าการก่อสร้างโครงการงบประมาณ โครงการ 8,700 ล้านบาท (แปดพันเจ็ดร้อยล้านบาท)
3.จังหวัดนครปฐม โครงการ ตำบลท่าตำหนัก อำเภอ นครชัยศรี จังหวัด นครปฐม (โครงการนิคมอุตสาหกรรม ฮับโลจิสติกส์และพลังงานไฟฟ้าทดแทน และองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) ประชารัฐ ภาคเอกชน ) บริษัท บิ๊กดีล เอ็นเตอร์ไพรซ์ จำกัดบริหารงานการก่อสร้าง โดย ดร.ชยณัฎฐ์ แสงมณี ประธานโครงการและกรรมการบริหารฯและคัดเลือกบริษัทฯมาร่วมบริหารการทำงาน
มูลค่าการก่อสร้างโครงการงบประมาณ 8,700 ล้านบาท (แปดพันเจ็ดร้อยล้านบาท)
4.จังหวัด ระนอง โครงการ ตำบล หงาว อำเภอ เมือง จังหวัด ระนอง ( โครงการนิคมอุตสาหกรรม ฮับโลจิสติกส์และพลังงานไฟฟ้าทดแทน และองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) ประชารัฐ ภาคเอกชน ) บริษัท บิ๊กดีล เอ็นเตอร์ไพรซ์ จำกัดบริหารงานการก่อสร้าง โดย ดร.ชยณัฎฐ์ แสงมณี ประธานโครงการและกรรมการบริหารฯและคัดเลือกบริษัทฯมาร่วมบริหารการทำงาน
มูลค่าการก่อสร้างโครงการงบประมาณ 8,700 ล้านบาท (แปดพันเจ็ดร้อยล้านบาท)
5.จังหวัด นนทบุรี โครงการ 1. ตำบลบางแม่นาง , อำเภอ บางใหญ่ (โครงการนิคมอุตสาหกรรม ฮับโลจิสติกส์และพลังงานไฟฟ้าทดแทน และ องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) ประชารัฐ ภาคเอกชน ) บริษัท บิ๊กดีล เอ็นเตอร์ไพรซ์ จำกัดบริหารงานการก่อสร้าง โดย ดร.ชยณัฎฐ์ แสงมณี ประธานโครงการและกรรมการบริหารฯและคัดเลือกบริษัทฯมาร่วมบริหารการทำงาน
มูลค่าการก่อสร้างโครงการงบประมาณ 8,700 ล้านบาท (แปดพันเจ็ดร้อยล้านบาท)
2.ตำบลบางขุนศรี อำเภอ ไทยน้อย อาคารชุด จำนวน 880 หน่วย จังหวัด นนทบุรี
(วิลเลคโอโซนไทยเพิ่มสุข) )
6.จังหวัดลพบุรี โครงการ อำเภอ เมืองลพ บุรี จังหวัด ลพบุรี (โครงการนิคมอุตสาหกรรม ฮับโลจิสติกส์และพลังงานไฟฟ้าทดแทน และ องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) ประชารัฐ ภาคเอกชน ) บริษัท บิ๊กดีล เอ็นเตอร์ไพรซ์ จำกัดบริหารงานการก่อสร้าง โดย ดร.ชยณัฎฐ์ แสงมณี ประธานโครงการและกรรมการบริหารฯและคัดเลือกบริษัทฯมาร่วมบริหารการทำงาน
มูลค่าการก่อสร้างโครงการงบประมาณ 8,700 ล้านบาท (แปดพันเจ็ดร้อยล้านบาท)
7.จังหวัดเชียงใหม่ โครงการ อำเภอ เมืองเชียงใหม่ จังหวัด เชียงใหม่ (โครงการนิคมอุตสาหกรรม ฮับโลจิสติกส์และพลังงานไฟฟ้าทดแทน องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) ประชารัฐ ภาคเอกชน ) บริษัท บิ๊กดีล เอ็นเตอร์ไพรซ์ จำกัดบริหารงานการก่อสร้าง โดย ดร.ชยณัฎฐ์ แสงมณี ประธานโครงการและกรรมการบริหารฯและคัดเลือกบริษัทฯมาร่วมบริหารการทำงาน
มูลค่าการก่อสร้างโครงการงบประมาณ 8,700 ล้านบาท (แปดพันเจ็ดร้อยล้านบาท)
8.จังหวัด นครราชสีมา โครงการ อำเภอ คง จังหวัด นครราชสีมา (โครงการนิคมอุตสาหกรรม ฮับโลจิสติกส์และพลังงานไฟฟ้าทดแทน องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) ประชารัฐ ภาคเอกชน ) บริษัท บิ๊กดีล เอ็นเตอร์ไพรซ์ จำกัดบริหารงานการก่อสร้าง โดย ดร.ชยณัฎฐ์ แสงมณี ประธานโครงการและกรรมการบริหารฯและคัดเลือกบริษัทฯมาร่วมบริหารการทำงาน
มูลค่าการก่อสร้างโครงการงบประมาณ 8,700 ล้านบาท (แปดพันเจ็ดร้อยล้านบาท)
9.จังหวัดขอนแก่น โครงการ อำเภอ บ้านไผ่ จังหวัด ขอนแก่น (โครงการนิคมอุตสาหกรรม ฮับโลจิสติกส์และพลังงานไฟฟ้าทดแทน และ องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) ประชารัฐ ภาคเอกชน ) บริษัท บิ๊กดีล เอ็นเตอร์ไพรซ์ จำกัดบริหารงานการก่อสร้าง โดย ดร.ชยณัฎฐ์ แสงมณี ประธานโครงการและกรรมการบริหารฯและคัดเลือกบริษัทฯมาร่วมบริหารการทำงาน
มูลค่าการก่อสร้างโครงการงบประมาณ 8,700 ล้านบาท (แปดพันเจ็ดร้อยล้านบาท)
10.จังหวัดอุดรธานี โครงการ อำเภอ เมืองอุดรธานี จังหวัด อุดรธานี (โครงการ องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) ประชารัฐ ภาคเอกชน ) บริษัท บิ๊กดีล เอ็นเตอร์ไพรซ์ จำกัดบริหารงานการก่อสร้าง โดย ดร.ชยณัฎฐ์ แสงมณี ประธานโครงการและกรรมการบริหารฯและคัดเลือกบริษัทฯมาร่วมบริหารการทำงาน
มูลค่าการก่อสร้างโครงการงบประมาณ 8,700 ล้านบาท (แปดพันเจ็ดร้อยล้านบาท)
ระยะที่ 2 แผนงาน สร้างเชิงรุก โครงการนิคมอุตสาหกรรม ฮับโลจิสติกส์และพลังงานไฟฟ้าทดแทน โครงการ 4 จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
มูลค่าการก่อสร้างโครงการงบประมาณ 34,800 ล้านบาท (สามหมื่นสี่พันแปดร้อยล้านบาท)
แยกงบประมาณ ดังนี้
1.จังหวัด อุบลราชธานี โครงการ อำเภอ เมือง จังหวัด อุบลราชธานี (โครงการนิคมอุตสาหกรรม ฮับโลจิสติกส์และพลังงานไฟฟ้าทดแทน และ องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) ประชารัฐ ภาคเอกชน ) บริษัท บิ๊กดีล เอ็นเตอร์ไพรซ์ จำกัดบริหารงานการก่อสร้าง โดย ดร.ชยณัฎฐ์ แสงมณี ประธานโครงการและกรรมการบริหารฯและคัดเลือกบริษัทฯมาร่วมบริหารการทำงาน
มูลค่าการก่อสร้างโครงการงบประมาณ 8,700 ล้านบาท (แปดพันเจ็ดร้อยล้านบาท)
2.จังหวัดสกลนคร โครงการ อำเภอ เมืองสกลนคร จังหวัด สกลนคร (โครงการนิคมอุตสาหกรรม ฮับโลจิสติกส์และพลังงานไฟฟ้าทดแทน และ องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) ประชารัฐ ภาคเอกชน ) บริษัท บิ๊กดีล เอ็นเตอร์ไพรซ์ จำกัดบริหารงานการก่อสร้าง โดย ดร.ชยณัฎฐ์ แสงมณี ประธานโครงการและกรรมการบริหารฯและคัดเลือกบริษัทฯมาร่วมบริหารการทำงาน
มูลค่าการก่อสร้างโครงการงบประมาณ 8,700 ล้านบาท (แปดพันเจ็ดร้อยล้านบาท)
3.จังหวัด สุรินทร์ โครงการ อำเภอ เมืองสุรินทร์ จังหวัด สุรินทร์ (โครงการนิคมอุตสาหกรรม ฮับโลจิสติกส์และพลังงานไฟฟ้าทดแทน และองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) ประชารัฐ ภาคเอกชน ) บริษัท บิ๊กดีล เอ็นเตอร์ไพรซ์ จำกัดบริหารงานการก่อสร้าง โดย ดร.ชยณัฎฐ์ แสงมณี ประธานโครงการและกรรมการบริหารฯและคัดเลือกบริษัทฯมาร่วมบริหารการทำงาน
มูลค่าการก่อสร้างโครงการงบประมาณ 8,700 ล้านบาท (แปดพันเจ็ดร้อยล้านบาท)
4.จังหวัด บึงกาฬ โครงการ อำเภอ เมือง จังหวัด บึงกาฬ ( โครงการนิคมอุตสาหกรรม ฮับโลจิสติกส์และพลังงานไฟฟ้าทดแทนและ องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) ประชารัฐ ภาคเอกชน ) บริษัท บิ๊กดีล เอ็นเตอร์ไพรซ์ จำกัดบริหารงานการก่อสร้าง โดย ดร.ชยณัฎฐ์ แสงมณี ประธานโครงการและกรรมการบริหารฯและคัดเลือกบริษัทฯมาร่วมบริหารการทำงาน
มูลค่าการก่อสร้างโครงการงบประมาณ 8,700 ล้านบาท (แปดพันเจ็ดร้อยล้านบาท)
ระยะที่ 3 แผนงาน สร้างเชิงรุก โครงการนิคมอุตสาหกรรม ฮับโลจิสติกส์และพลังงานไฟฟ้าทดแทน โครงการ 18 จังหวัด ภาคเหนือ
โครงการ 18 จังหวัด ภาคเหนือ
(โครงการนิคมอุตสาหกรรม ฮับโลจิสติกส์และพลังงานไฟฟ้าทดแทน และองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) ประชารัฐ ภาคเอกชน ) บริษัท บิ๊กดีล เอ็นเตอร์ไพรซ์ จำกัดบริหารงานการก่อสร้าง โดย ดร.ชยณัฎฐ์ แสงมณี ประธานโครงการและกรรมการบริหารฯและคัดเลือกบริษัทฯมาร่วมบริหารการทำงาน
มูลค่าการก่อสร้าง มูลค่าการก่อสร้างโครงการงบประมาณ 156,600 ล้านบาท
(หนึ่งแสนห้าหมื่นหกพันหกร้อยล้านบาท)
ระยะที่ 4 แผนงาน สร้างเชิงรุก โครงการนิคมอุตสาหกรรม ฮับโลจิสติกส์และพลังงานไฟฟ้าทดแทน โครงการ 18 จังหวัด ภาคกลาง
โครงการ 18 จังหวัด ภาคกลาง
(โครงการนิคมอุตสาหกรรม ฮับโลจิสติกส์และพลังงานไฟฟ้าทดแทน และ องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) ประชารัฐ ภาคเอกชน ) บริษัท บิ๊กดีล เอ็นเตอร์ไพรซ์ จำกัดบริหารงานการก่อสร้าง โดย ดร.ชยณัฎฐ์ แสงมณี ประธานโครงการและกรรมการบริหารฯและคัดเลือกบริษัทฯมาร่วมบริหารการทำงาน
มูลค่าการก่อสร้างโครงการ มูลค่าการก่อสร้างโครงการงบประมาณ 156,600 ล้านบาท
(หนึ่งแสนห้าหมื่นหกพันหกร้อยล้านบาท)
ระยะที่ 5 แผนงาน สร้างเชิงรุก โครงการนิคมอุตสาหกรรม ฮับโลจิสติกส์และพลังงานไฟฟ้าทดแทน โครงการ 16 จังหวัด ภาคใต้
โครงการ 16 จังหวัด ภาคใต้
(โครงการนิคมอุตสาหกรรม ฮับโลจิสติกส์และพลังงานไฟฟ้าทดแทน และ องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) ประชารัฐ ภาคเอกชน ) บริษัท บิ๊กดีล เอ็นเตอร์ไพรซ์ จำกัดบริหารงานการก่อสร้าง โดย ดร.ชยณัฎฐ์ แสงมณี ประธานโครงการและกรรมการบริหารฯและคัดเลือกบริษัทฯมาร่วมบริหารการทำงาน
มูลค่าการก่อสร้างโครงการ มูลค่าการก่อสร้างโครงการงบประมาณ 139,200 ล้านบาท
(หนึ่งแสนสามหมื่นเก้าพันสองร้อยล้านบาท)
โครงการนิคมอุตสาหกรรม ฮับโลจิสติกส์และพลังงานไฟฟ้าทดแทน รวมมูลค่าการก่อสร้างโครงการทั้งสิ้น 574,200 ล้านบาท
(ห้าแสนสี่หมื่นสองร้อยล้านบาท ถ้วน)
ดร.ชยณัฎฐ์ แสงมณี เป็นผู้ประกอบกิจการในธุรกิจก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ โดยมีผลงานในการก่อสร้าง และพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์มากด้วยประสบการณ์ ดำเนินการพัฒนาโครงการวางแผนงาน การอาหาร งานสาธารณะสุข การผลิตสินค้า งานสร้างอาชีพ เพื่อผู้สูงวัยละเกษตรกรรม พร้อมให้การบริการที่ดิต่อสมาชิกเป็นอย่างดีและทั่วถึงในการให้บริการ
ลงชื่อ ดร.ชยณัฎฐ์ แสงมณี
ประธาน โครงการ องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) ประชารัฐ ภาคเอกชน
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น