ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ D HOUSE GROUP ข่าววารสาร อสังหาริมทรัพย์ THAI - D - H - G

โครงการนิคมอุตสาหกรรม ฮับโลจิสติกส์และพลังงานไฟฟ้าทดแทน ( จ.หนองคาย จ.ขอนแก่น จ.ลำพูน เพชรบูรณ์ โมเดล ) ที่มาของโครงการ แนวโน้มธุรกิจและอุตสาหกรรมไทย ปี 2566-2568 1. สรณอัฐ สุทธาสุทธินันท์ Sirana-ut Sootthasootthinun ประธานกรรมการบริหาร 2. ศุภกร. เล็กยิ้ม Supakorn Lekyim ที่ปรึกษาโรงการ 3. ดร.ชยณัฎฐ์ แสงมณี Dr.Chayanat Sangmanee ประธานโครงการ ภาพรวมแนวโน้มอุตสาหกรรมไทยในระยะ 3 ปีข้างหน้าจะพิจารณาครอบคลุมทั้งปัจจัยด้านความท้าทายและโอกาสที่สะท้อนความน่าสนใจ (Attractiveness) ในการทำธุรกิจของแต่ละอุตสาหกรรม ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยแวดล้อมทางเศรษฐกิจมหาภาค และปัจจัยภายในเฉพาะด้านของอุตสาหกรรมนั้น เนื่องจาก บริษัท บิ๊กดีล เอ็นเตอร์ไพรซ์ จำกัด(นโยบายประชารัฐ ภาคเอกชน) ไทยเพิ่มสุข โดย กระผม ดร.ชยณัฎฐ์ แสงมณี กรรมการผู้จัดการลงนามของบริษัทฯ ได้จัดทำ โครงการนิคมอุตสาหกรรม ฮับโลจิสติกส์และพลังงานไฟฟ้าทดแทน เพื่อเกษตรกรและอุตสาหกรรมSME Thailand (NEW MOF อ.ต.ก.นิวส์) ประชารัฐ ภาคเอกชน ) เพื่อระบบอุตสาหกรรม SME และเกษตรกรเพื่องานอาหารผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาสและประชาชนคนไทยทุกคนและ เพื่อ การวางแผน อาหาร การสร้างความมั่งคงและการอยู่อาศัยสนับสนุน โดย นโยบาย รัฐบาล กระทรวงอุตสาหกรรม,กระทรวงพานิชฯ กระทรวงเกษตรกรและสหกรณ์ และกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ที่นี้ดำเนินโครงการตามวิธีการให้ถูกต้องตาม วัตถุประสงค์ของโครงการ ดังนี้ ประเทศไทยกำลังจะก้าวเข้าสู่การแข่งขั้นทางการตลาดด้างการเกษตรที่สูงในภูมิภาค EEC และประชากรไทยได้เข้าสู่ สังคมผู้สูงอายุ การเปลี่ยนแปลงและเตรียมพร้อมให้ผู้สูงอายุรับมือกับการเปลี่ยนแปลง ทำให้ผู้สูงอายุ ต้องเผชิญกับปัญหาในการปรับตัวเพื่อให้สอดคล้องกับสังคมปัจจุบัน ทั้งในด้าน 1.อาหารของประชากรที่สูงวัย 2.ที่พักอาศัยของประชากรที่สูงวัย 3.สังคมและวัฒนธรรมของผู้สูงวัย 4.รายได้ของประชากรผู้สูงวัย 5.ความมั่งคงของชีวิตประชากรผู้สูงวัย 6.สุขภาพที่ดีของประชากรผู้สูงวัย อีกจำนวนมาก ความคิด ความเข้าใจและค่านิยม ต่างๆประกอบกับวัยสูงอายุเป็นวัยที่ต้องเผชิญกับรูปแบบการดำเนินชีวิตแบบใหม่ ผู้สูงอายุที่มีศักยภาพในด้านภูมิ ความรู้ ภูมิธรรม ภูมิปัญญา สมควรส่งเสริมให้เป็นทรัพยากรที่เข้มแข็งและมีคุณค่าให้ยาวนานที่สุด โดยนำจุดแข็งนี้ มาสร้างโอกาสในการพัฒนาสังคม กิจกรรมที่เป็นประโยชน์นี้จะทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกมีความสุขได้บริหารกาย จิต สังคม เป็นบุคคลที่พัฒนาไปตามกาลสมัยพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงพึ่งตนเองได้และสามารถเป็นพลังให้การพึ่งพา แก่ชุมชนและสังคม ซึ่งปัจจุบันทั่วประเทศมีผู้สูงอายุที่เป็นภูมิปัญญาและมีชมรมคลังปัญญาผู้สูงอายุ ซึ่ง ประกอบด้วยสมาชิกผู้สูงอายุ ที่ขึ้นทะเบียนเป็นผู้มีความรู้และมีจิตอาสาพร้อมจะถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ ให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม แต่ขาดโอกาส ขาดพื้นที่ในสังคม ขาดงบประมาณ และช่องทางในการเผยแพร่ ภูมิ ปัญญา ดร.ชยณัฎฐ์ แสงมณี ประธานกรรมการ บริษัท บิ๊กดีล เอ็นเตอร์ไพรซ์ จำกัด เป็นผู้ประกอบกิจการในธุรกิจก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ โดยมีผลงานในการก่อสร้างและพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์เป็นจำนวนมาก เนื่องด้วยบริษัทฯ เป็นผู้ประกอบกิจการในจังหวัดนครปฐม และได้เล็งเห็นว่ารัฐบาลกำลังผลักดันและดำเนินโครงการประชารัฐด้านต่างๆเป็นจำนวนมาก บริษัทฯจึงมีความประสงค์ที่จะมีส่วนร่วมในการพัฒนาด้านดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยเฉพาะด้านโดยเฉพาะการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงวัย ที่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ และปัจจุบันได้ดำเนินการอยู่นั้น มีผู้ร่วมทุนและมีงบประมาณที่มีจำนวนมากพอที่จะ ขยายกิจการมาทำธุรกิจการตลาดเพื่อสมาชิกสหกรณ์ตลอดจนประชาชนที่สนใจในการค้าขายใน โครงการนิคมอุตสาหกรรม ฮับโลจิสติกส์และพลังงานไฟฟ้าทดแทน (ประชารัฐ อ.ต.ก. ภาคเอกชน ) นโยบายการบริการและการบริหาร อย่างองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.นิวส์) ประชารัฐ ภาคเอกชน ) บริหารการโครงการและพัฒนาธุรกิจ โดย ดร.ชยณัฎฐ์ แสงมณี ซึ่งมีความประสงค์ที่จะก่อตั้ง โครงการนิคมอุตสาหกรรม ฮับโลจิสติกส์และพลังงานไฟฟ้าทดแทน (อ.ต.ก.นิวส์ ) ประชารัฐ ภาคเอกชน เพื่อสมาชิกของโครงการ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ของโครงการที่คล้ายกันและเพื่อประชาชนคนไทยทุกคนได้ผลประโยชน์จากโครงการด้วยกันทั้งสิ้น เช่น -โครงการ สร้างงานสร้างอาชีพให้กับสมาชิก เพื่อความอยู่รอยและมั่นคง ให้กับสมาชิก -โครงการ ส่งเสริมการเรียนรู้ และรักษาวัฒนธรรมประเพณี ให้กับสมาชิก -โครงการ จัดหาและประกอบอาหารตลอดจนเครื่องอุประโภคและบริโภค ให้กับสมาชิก -โครงการ ส่งเสริมเกษตรกรผลินสินค้าปลอดสารพิษ เพื่อสมาชิก โครงการ ผู้สูงอายุ -โครงการ ขนส่งและบริการจัดหาสินค้าเพื่อสมาชิกโครงการ ผู้สูงอายุ -โครงการ แพลตฟอร์ม ดิจิตอล และสถาบันการเงิน เพื่อสมาชิกของ โครงการผู้สูงอายุ -โครงการ ส่งเสริมการท่องเที่ยวทั่วไทยเชิงวัฒนธรรม การบริโภค ของสมาชิก -โครงการ ส่งเสริมการลงทุน จัดทำอุสาหกรรม สินค้าอุประโภคและบริโภค เพื่อผู้สูงวัย จึงเขียนโครงการนิคมอุตสาหกรรม ฮับโลจิสติกส์และพลังงานไฟฟ้าทดแทน (อ.ต.ก.) ประชารัฐ ภาคเอกชน ) เพื่อลงทุนในกิจการของรัฐ ตาม พ.รบ.ส่งเสริมการลงทุน ปี 2562 และได้ร่วมประชุม ศึกษาหาแนวทางการลงทุนและขอสนับนุการลงทุนในกิจการของภาครัฐ 2567 ต่อ หน่วยงานของรัฐ ผ่าน องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) จังหวัด นนทบุรี ผ่านท่าน ผู้ว่าราชการจังหวัด นนทบุรี เพื่อขอรับการสนับสนุน นโยบายการทำงานและขอรับการสนับสนุนนโยบายโครงการ ในเวลานี้ ปัจจัยแวดล้อมทางเศรษฐกิจมหาภาค (Macroeconomic environments) โครงการ นิคมอุตสาหกรรม ฮับโลจิสติกส์และพลังงานไฟฟ้าทดแทน ในการจัดทำโครงการ เศรษฐกิจโลกปี 2566-2568: ฟื้นตัวค่อยเป็นค่อยไป • เศรษฐกิจโลกในระยะ 3 ปีข้างหน้ามีแนวโน้มขยายตัวเฉลี่ย 4% ต่อปี หลังจากที่อัตราการเติบโตอยู่ในระดับสูงในปี 2564 ที่ 5.9% จากมาตรการกระตุ้นขนาดใหญ่และการเปิดเมืองของประเทศชั้นนำของโลก แนวโน้มเศรษฐกิจยังฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป (ภาพที่ 1) ปัจจัยสนับสนุนมาจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจของภาคเอกชน ทั้งการฟื้นตัวในภาคบริการและการขยายตัวต่อเนื่องในภาคการผลิต อันเป็นผลจากการฉีดวัคซีนที่แพร่หลายมากขึ้น การผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาด และการทยอยเปิดเมืองในหลายประเทศ รวมถึงมาตรการการเงินการคลังที่ยังเอื้อต่อการเติบโตแม้จะทยอยลดลงจากช่วงวิกฤต อย่างไรก็ดี ความเสี่ยงและความไม่แน่นอนยังคงมีอยู่ อาทิ การกลายพันธุ์ของ COVID-19 ประสิทธิภาพของวัคซีน และภาวะคอขวดของอุปะทานภาคการผลิตที่อาจยืดเยื้อไปจนถึงปี 2565 นอกจากนี้ การปรับนโยบายการเงินให้เป็นปกติ (Policy normalization) โดยการทยอยขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อลดแรงกดดันเงินเฟ้อ จะส่งผลให้ต้นทุนการดำเนินธุรกิจเพิ่มขึ้นในระยะต่อไป • เศรษฐกิจสหรัฐฯคาดว่าจะขยายตัวเฉลี่ย 3.0% ต่อปี เทียบกับที่เติบโต 6.0% ในปี 2564 แม้อัตราการเติบโตจะชะลอลงภายหลังผลบวกจากแรงกระตุ้นทางการเงินการคลังและการเปิดเมืองเริ่มเพลาลง แต่เศรษฐกิจยังมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง ปัจจัยบวกจากการฟื้นตัวอย่างชัดเจนของตลาดแรงงาน สะท้อนจากอัตราการว่างงานลดลงสู่ระดับ 4.2% ในเดือนพฤศจิกายน จาก 14.8% ในเดือนเมษายน 2563 ส่งผลให้รายได้และการใช้จ่ายของผู้บริโภคปรับดีขึ้น สำหรับภาคธุรกิจเริ่มขยายการลงทุนตามการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานมูลค่า 1.2 ล้านล้านดอลลาร์ฯ ในช่วงปี 2565-2572 นอกจากนี้ การกำหนดอัตราภาษีนิติบุคคลขั้นต่ำทั่วโลก (Global minimum tax) ซึ่งจะนำมาใช้ในปี 2566 อาจทำให้เกิดการ reshoring กลับสู่สำนักงานใหญ่ในสหรัฐฯ มากขึ้น ส่วนความขัดแย้งกับจีนคาดว่ายังมีต่อเนื่อง แต่การหากลุ่มพันธมิตรทางธุรกิจจะเข้มข้นขึ้นผ่านโครงการ Build Back Better World ของสหรัฐฯ เพื่อแข่งขันกับ Belt and Road Initiative ของจีน ซึ่งอาจเกิดการแบ่งกลุ่มของห่วงโซ่มูลค่าระหว่างสหรัฐฯ และจีนที่ชัดเจนมากขึ้น สำหรับทิศทางนโยบายการเงิน เฟดเริ่มปรับลดการผ่อนคลายทางการเงินผ่าน QE ตั้งแต่ปลายปี 2564 และมีแนวโน้มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปี 2565 อย่างไรก็ดี จาก Dot Plots ของเฟดชี้ให้เห็นว่าดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ ในปี 2567 จะยังคงต่ำกว่าระดับที่เฟดคาดการณ์ในระยะข้างหน้า (Longer run) ที่ 2.5% ซึ่งสะท้อนนโยบายการเงินที่ยังเอื้อต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ • เศรษฐกิจยูโรโซนคาดว่าจะขยายตัวเฉลี่ย 2.6% ต่อปี เทียบกับที่ขยายตัว 5.0% ในปี 2564 แรงหนุนสำคัญจากการบริโภค การลงทุน และการท่องเที่ยว ด้านการบริโภคมีแนวโน้มเติบโตตามการฟื้นตัวของตลาดแรงงานและกำลังซื้อจากเงินออมที่สะสมไว้ในช่วง COVID-19 แพร่ระบาด ส่วนการลงทุนมีเงินช่วยเหลือจาก EU Recovery Fund ที่ทยอยเบิกจ่ายและเป็นหนึ่งในแผนการลงทุนของหลายประเทศซึ่งเน้นการสร้างงาน โครงการดังกล่าวคาดว่าช่วยกระตุ้น GDP ได้ราว 0.7-1.0% ต่อปี ขณะที่ภาคท่องเที่ยวมีแนวโน้มปรับดีขึ้นซึ่งจะช่วยหนุนเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศตอนใต้ เช่น อิตาลี สเปน ฝรั่งเศส นอกจากนี้ อัตราดอกเบี้ยยังมีแนวโน้มอยู่ในระดับต่ำอย่างน้อยจนถึงสิ้นปี 2565 ประกอบกับมาตรการผ่อนคลายทางการเงินที่ยังช่วยเสริมสภาพคล่องต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าจะไม่มากเหมือนช่วงวิกฤตโควิดหลังจากการเข้าซื้อพันธบัตรภายใต้โครงการ Pandemic Emergency Purchase Programme (PEPP) วงเงิน 1.35 ล้านล้านยูโร มีแนวโน้มหมดลงในช่วงต้นปี 2565 สำหรับประเด็นที่อาจกดดันเศรษฐกิจยูโรโซน ได้แก่ การขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์ที่กระทบต่อภาคการผลิตและการส่งออกแม้อาจคลายลงบ้างในช่วงครึ่งหลังของปี 2565 การกลับมากำหนดกฎระเบียบด้านการคลังในช่วงปี 2566 โดยกำหนดเพดานหนี้ไม่เกิน 60% ของ GDP และการขาดดุลการคลังไม่เกิน 3% ของ GDP อาจจำกัดแผนลงทุนเพิ่มเติมของรัฐบาลในประเทศที่มีปัญหาภาคการคลัง สำหรับแนวคิดด้านเศรษฐกิจเพื่อสิ่งแวดล้อมที่เร่งตัวขึ้นทั่วโลกโดยเฉพาะในยุโรป ทำให้เกิดการรณรงค์ใช้พลังงานสะอาดที่ยังผลิตได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการและลดการลงทุนในพลังงานฟอสซิล เมื่อประกอบกับการทยอยเปิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ อาจส่งผลต่อการขาดแคลนพลังงานและเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นในระยะสั้น • เศรษฐกิจญี่ปุ่นมีแนวโน้มขยายตัวเฉลี่ย 1.8% ต่อปี จากที่เติบโต 2.4% ในปี 2564 ปัจจัยหนุนจาก (1) การส่งออกสินค้ามีแนวโน้มขยายตัวตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและการค้าโลก (2) การขยายการลงทุน เพื่อรองรับการขยายตัวของการส่งออกและการลงทุนด้านเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อรับมือกับปัญหาขาดแคลนแรงงานในอนาคต ส่วนธุรกิจที่เกี่ยวกับภาคท่องเที่ยวจะทยอยฟื้นตัวจากอานิสงส์ของมาตรการ “Go To Travel” และการเริ่มทยอยเปิดประเทศ (3) การบริโภคภาคครัวเรือนมีแนวโน้มปรับดีขึ้น จากตลาดแรงงานที่แข็งแกร่งขึ้น สะท้อนจากอัตราการว่างงานอยู่ในระดับต่ำที่ 2.8% ในเดือนตุลาคม 2564 และ (4) มาตรการกระตุ้นอื่นๆ อาทิ งบประมาณเพิ่มเติม 30 ล้านล้านเยน หรือราว 5.6% ต่อ GDP เพื่อเยียวยาผลกระทบของ COVID-19 และฟื้นฟูเศรษฐกิจ ขณะเดียวกันรัฐบาลยังผลักดันแนวคิด “ทุนนิยมใหม่ (New Capitalism)” ที่มุ่งกระจายการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างเป็นธรรม เช่น การเก็บภาษีจากกลุ่มผู้มีรายได้สูง การปรับเพิ่มค่าจ้าง และการส่งเสริมการลงทุนในส่วนภูมิภาค ด้านธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) มีแนวโน้มดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายต่อเนื่องทั้งอัตราดอกเบี้ยติดลบ การควบคุมเส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล และการผ่อนคลายเชิงปริมาณ ทั้งนี้ การฟื้นตัวยังคงเป็นไปอย่างช้าๆ สะท้อนจากอัตราการออมของครัวเรือนยังอยู่ในระดับสูงท่ามกลางความเสี่ยงจาก Deflationary mindset ที่ส่งผลให้การใช้จ่ายในประเทศยังเป็นไปอย่างระมัดระวังและมีแนวโน้มเติบโตต่ำ • เศรษฐกิจจีนคาดว่าจะขยายตัวเฉลี่ย 5.4% ต่อปี ชะลอลงจาก 8.0% ในปี 2564 ปัจจัยที่ส่งผลกดดันเศรษฐกิจมาจากการที่รัฐบาลเริ่มหันมาให้ความสำคัญกับการเติบโตในระยะยาว โดยเพิ่มความเข้มงวดกับภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการเก็งกำไรและการผูกขาด รวมถึงภาค
ข่าว ราคาประเมิน โครงการสิวารัตน์ ราคาดีมากๆ จ.นครปฐม

ราคาประเมินที่ดิน บ้านสิวารัตน์ นครปฐม


ราคาประเมินที่ดิน
(
บาท/ตารางวา)
1
ถนนหน้าองค์พระ 80,000
2
ถนนหลังองค์พระ 80,000
3
ถนนซ้ายองค์พระ 80,000
4
ถนนขวาองค์พระ 80,000
5
ถนนทรงพล 50,000 – 80,000
6
ถนนราชวิถี 80,000
7
ถนนราชดำเนิน 76,000
8
ถนนราชดำริห์ 60,000
9
ถนนเพชรเกษม 14,000 – 50,000
10
ถนนทหารบก 17,200 - 30,000
11
โครงการตลาดปฐมมงคล 27,000
12
หมู่บ้านร้อยพฤกษา 12,000
13
หมู่บ้านประปาเมืองใหม่ 12,000
14
หมู่บ้านประปานคร 12,000
15
หมู่บ้านปฐมทองซิตี้ 12,000
16
หมู่บ้านสิวารัตน์ 10 12,000 
หมายเหตุ
: ตารางสรุปราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดิน เป็นการสรุปภาพรวมของราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินเป็นรายถนน
เท่านั้น ไม่สามารถใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงราคาที่ดินรายแปลงได้ ดังนั้นผู้ต้องการขอทราบราคาประเมิน
ทุนทรัพย์ที่ดินเฉพาะแปลง จะต้องตรวจสอบกับสำนักงานที่ดิน หรือสำนักงานธนารักษ์พื้นที่ที่ดินนั้นตั้งอยู่
หรือที่สำนักประเมินราคาทรัพย์สิน กรมธนารักษ์
สรุปราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดิน รอบบัญชี ปี พ
..2555-2558

จังหวัดนครปฐม
อำเภอเมืองนครปฐม
ลำดับที่ หน่วยที่ดิน



สรุปภาพรวม
ราคาประเมินที่ดิน
(
บาท/ตารางวา)

1
ถนนนครปฐม-ดอนตูม 5,000 – 6,500
2
ถนนหนองปลาไหล-ดอนตูม 1,300 – 6,500
3
ถนนพลดำริห์ 2,400
4
ถนนดอนตูม-ลำลูกบัว 2,400
5
ถนนดอนตูม-บางเลน 2,400
6
ที่ดินติดถนนวัดแหลมมะเกลือ-ไผ่กุ่ม 2,500
7
ที่ดินถนนเทศบาล 6 2,500
8
ที่ดินติดซอย ทาง 400
9
ที่ดินติดถนนเลียบคลองชลประทาน 500
10
หมู่บ้านสมเจริญ 5,700
11
หมู่บ้านบุศราทิพย์ 5,000
12
หมู่บ้านศรีเจริญทองริเวอร์ไซด์ 1,000
13
โครงการจัดสรรร้าง 900
14
โครงการจัดสรรทำนา 500
หมายเหตุ
: ตารางสรุปราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดิน เป็นการสรุปภาพรวมของราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินเป็นรายถนน
เท่านั้น ไม่สามารถใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงราคาที่ดินรายแปลงได้ ดังนั้นผู้ต้องการขอทราบราคาประเมิน
ทุนทรัพย์ที่ดินเฉพาะแปลง จะต้องตรวจสอบกับสำนักงานที่ดิน หรือสำนักงานธนารักษ์พื้นที่ที่ดินนั้นตั้งอยู่
หรือที่สำนักประเมินราคาทรัพย์สิน กรมธนารักษ์
อำเภอดอนตูม
ลำดับที่ หน่วยที่ดิน



สรุปภาพรวม
ราคาประเมินที่ดิน
(
บาท/ตารางวา)

1
ถนนเพชรเกษม 30,000 – 50,000
2
ถนนพุทธมณฑลสาย 4 30,000
3
ถนนเพชรเกษม-สามพราน 30,000
4
ถนนปิ่นเกล้า-นครชัยศรี 22,000 – 29,000
5
ถนนพุทธมณฑลสาย 5 20,000 – 22,500
6
ถนนพุทธมณฑลสาย 7 16,000 - 22,000
7
ถนนวัดเทียนดัด 22,000
8
ถนนสะแกเล็ก-บางประแดง 6,500 – 14,000
9
ถนนโรมัน-เทียนดัด 8,500 - 10,000
10
ถนนเพชรเกษม-ทรงคนอง 9,500
11
หมู่บ้านอิมเมจ เพลส 25,000 - 48,000
12
หมู่บ้านพฤกษาวิลล์ 16,500
13
หมู่บ้านพรทวี บ้านวิวสวน 32,500
14
หมู่บ้านพฤกษ์ลดา 32,500
15
โครงการตลาดสามพราน 30,000
16
หมู่บ้านกรีนปาร์คโฮม 30,000
17
หมู่บ้านสายสี่ทองคำพลาซ่า 30,000
18
หมู่บ้านมณฑลทิพย์ 29,500
19
หมู่บ้านวิลล่า มาริสา 25,500
20
หมู่บ้านกฤษณาฯ 25,000
หมายเหตุ
: ตารางสรุปราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดิน เป็นการสรุปภาพรวมของราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินเป็นรายถนน
เท่านั้น ไม่สามารถใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงราคาที่ดินรายแปลงได้ ดังนั้นผู้ต้องการขอทราบราคาประเมิน
ทุนทรัพย์ที่ดินเฉพาะแปลง จะต้องตรวจสอบกับสำนักงานที่ดิน หรือสำนักงานธนารักษ์พื้นที่ที่ดินนั้นตั้งอยู่
หรือที่สำนักประเมินราคาทรัพย์สิน กรมธนารักษ์
อำเภอสามพราน
ลำดับที่ หน่วยที่ดิน



สรุปภาพรวม
ราคาประเมินที่ดิน
(
บาท/ตารางวา)

1
ถนนเพชรเกษม 25,000 - 30,000
2
ถนนเพชรเกษม-นครชัยศรี 23,000
3
ถนนปิ่นเกล้า-นครชัยศรี 22,000
4
ถนนพุทธมณฑลสาย 7 8,000 - 16,000
5
ถนนนครชัยศรี-เลียบแม่น้ำนครชัยศรี 8,000
6
ถนนนครชัยศรี-ห้วยพลู-ดอนตูม 8,000
7
ถนนพุทธมณฑลสาย 8 8,000
8
ถนนศาลายา-นครชัยศรี 6,500 - 7,500
9
ถนนเพชรเกษม-วัดปรีดาราม 5,000 - 7,000
10
ถนนเพชรเกษม-ทรงคนอง 6,500
11
หมู่บ้านกฤษดานครซิตี้ กอล์ฟฮิลล์ 15,500-18,500
12
หมู่บ้านบ้านสวนนครชัยศรี 12,500
13
โครงการบ้านเอื้ออาทรนครชัยศรี (ท่าตำหนัก) 12,000
14
หมู่บ้านเกษมเพชร 11,500
15
หมู่บ้านเอี่ยมศรีรัตน์ 10,000
16
หมู่บ้านบางกระเบา 10,000
17
หมู่บ้านร่มเย็น 10,000
18
หมู่บ้านออมไทยการ์เด้นท์โฮม 10,000
19
หมู่บ้านทองธัชการ 9,500
20
หมู่บ้านพฤกษา 8 9,500
หมายเหตุ
: ตารางสรุปราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดิน เป็นการสรุปภาพรวมของราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินเป็นรายถนน
เท่านั้น ไม่สามารถใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงราคาที่ดินรายแปลงได้ ดังนั้นผู้ต้องการขอทราบราคาประเมิน
ทุนทรัพย์ที่ดินเฉพาะแปลง จะต้องตรวจสอบกับสำนักงานที่ดิน หรือสำนักงานธนารักษ์พื้นที่ที่ดินนั้นตั้งอยู่
หรือที่สำนักประเมินราคาทรัพย์สิน กรมธนารักษ์
อำเภอนครชัยศรี
ลำดับที่ หน่วยที่ดิน
สรุปภาพรวม
ราคาประเมินที่ดิน
(
บาท/ตารางวา)

1
ถนนปิ่นเกล้า-นครชัยศรี 29,000 - 42,000
2
ถนนพุทธมณฑลสาย 4 30,000
3
ถนนอุทยาน 22,500
4
ถนนศาลายา-นครชัยศรี 7,500 - 20,000
5
ถนนพุทธมณฑลสาย 5 15,000
6
ถนนศาลายา-บางภาษี 8,000 - 15,000
7
ถนนลานตากฟ้า-เทพนิมิตร 4,000 - 6,000
8
โครงการตลาดใหม่ศาลายา 32,500
9
หมู่บ้านอนันตธารา 20,000
10
หมู่บ้านพุทธชาติ 20,000
11
หมู่บ้านสิวารัตน์ 7 18,000
12
หมู่บ้านร่วมเกื้อ 18,000
13
หมู่บ้านมัณฑนา 17,000
14
หมู่บ้านนฤรัตน์ กรีนซิตี้ 17,000
15
หมู่บ้านบ้านสวยริมธาร 5 16,000
16
หมู่บ้านศาลายาวิลเลจ 16,000
17
หมู่บ้านเอกสยาม 16,000
หมายเหตุ
: ตารางสรุปราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดิน เป็นการสรุปภาพรวมของราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินเป็นรายถนน
เท่านั้น ไม่สามารถใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงราคาที่ดินรายแปลงได้ ดังนั้นผู้ต้องการขอทราบราคาประเมิน
ทุนทรัพย์ที่ดินเฉพาะแปลง จะต้องตรวจสอบกับสำนักงานที่ดิน หรือสำนักงานธนารักษ์พื้นที่ที่ดินนั้นตั้งอยู่
หรือที่สำนักประเมินราคาทรัพย์สิน กรมธนารักษ์
อำเภอพุทธมณฑล
ลำดับที่ หน่วยที่ดิน
สรุปภาพรวม
ราคาประเมินที่ดิน
(
บาท/ตารางวา)

1
ถนนเทอดดำริห์ 8,00-21,500
2
ถนนพลดำริห์ 2,500-16,000
3
ถนนบางเลน-ลาดหลุมแก้ว 2,000-14,000
4
ถนนสุชาติพัฒนา 1,025 - 6,000
5
ถนนชาญชัย-ผดุงจิตต์-ปทุมรักษ์ 4,000
6
ถนนวัดเกษม-นราภิรมย์ 2,500-3,375
7
ถนนกำแพงแสน-บางหลวง 1,025-3,000
8
ถนนบางเลน-บางไทรป่า 3,000
9
ถนนบางเลน-ประตูน้ำ3,000
10
แม่น้ำนครชัยศรี 1,250-3,000
11
หมู่บ้านบางเลนธานี 12,000
12
ศูนย์การค้าตลาดบางเลน 2,500-16,000
13
ศูนย์การค้าชมพูพงศ์ 2,000-14,000
14
หมู่บ้านกรุงไทย 1,025 - 6,000
15
หมู่บ้านเฟื่องสุข 7,000
หมายเหตุ
: ตารางสรุปราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดิน เป็นการสรุปภาพรวมของราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินเป็นรายถนน
เท่านั้น ไม่สามารถใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงราคาที่ดินรายแปลงได้ ดังนั้นผู้ต้องการขอทราบราคาประเมิน
ทุนทรัพย์ที่ดินเฉพาะแปลง จะต้องตรวจสอบกับสำนักงานที่ดิน หรือสำนักงานธนารักษ์พื้นที่ที่ดินนั้นตั้งอยู่
หรือที่สำนักประเมินราคาทรัพย์สิน กรมธนารักษ์
อำเภอบางเลน
ลำดับที่ หน่วยที่ดิน
สรุปภาพรวม
ราคาประเมินที่ดิน
(
บาท/ตารางวา)

1
ถนนมาลัยแมน 1,000 - 17,000
2
ถนนพลดำริห์ 2,500 - 17,000
3
ถนนกำแพงแสน-พนมทวน 625 – 7,500
4
ถนนปทุมมารักษ์ 3,000
5
ถนนมาลัยแมน-สนามบิน 1,050 - 1,250
6
ถนนดอนเตาอิฐ-เกาะไผ่เถื่อน 1,050
7
ถนนกำแพงแสน-พระแท่นดงรัง 750 – 1,050
8
ถนนมาลัยแมน-หนองฟัก 1,000
9
ถนนมาลัยแมน-ลาดปลาเค้า 875 - 1,000
10
ถนนมาลัยแมน-บางหลวง 1,000
11
หมู่บ้านแสนรัก 5,500
12
โครงการเอื้ออาทร (ทุ่งกระพังโหม) 5,200
13
ตลาดใหม่คุณาวรรณ 10,500
14
ที่ดินติดทางในโครงการเอื้ออาทร 5,00015
ที่ดินติดทางในหมู่บ้านทรัพย์สมบูรณ์ 1 5,000

ความคิดเห็น

  1. โรมัน เทียนดัด สร้างหรือยังคับ

    ตอบลบ
  2. นโยบาย ‘ประชารัฐ’ เป็นกรอบแนวทางในการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจของรัฐบาล
    เมื่อวานนี้
    นโยบาย ‘ประชารัฐ’ เป็นกรอบแนวทางในการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจของรัฐบาล พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา แทนกรอบนโยบายแบบเก่าของรัฐบาล นางสาวยิ่งลักษณ์ หรือก็คือ นโยบาย ‘ประชานิยม’
    โดยในตัวสาระสำคัญจะพบว่า นโยบายประชานิยม จะมุ่งเน้นที่ความนิยมชมชอบของประชาชนเป็นหลัก ซึ่งเมื่ออยู่ภายใต้ระบบการเลือกตั้ง นโยบายประชานิยมจะเลือกพุ่งเป้าไปที่ความนิยมชมชอบของกลุ่มประชาชนส่วนใหญ่ก่อน เพื่อให้ได้รับการเลือกตั้ง ซึ่งอาจจะไม่เป็นที่นิยมชมชอบ หรือแม้กระทั่งเกิดผลเสียต่อกลุ่มประชาชนส่วนน้อย
    ปัญหาที่สำคัญอีกประการหนึ่งของนโยบายประชานิยม ก็คือ ผู้ที่ได้รับผลประโยชน์จากนโยบาย มักจะไม่ได้ทันคำนึงถึงผลเสียที่จะตามมาในอนาคต ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น การมองภาพรวมได้อย่างไม่ครบถ้วน การขาดข้อมูลในการตัดสินใจ หรือ ผลของความเสียหายจะถูกกระจายอย่างเฉลี่ยจนทำให้ผลเสียดูเบาบางลงไป นโยบายประชานิยมที่ขาดการคำนึงถึงผลเสียในอนาคต จึงทำให้ประเทศสุ่มเสี่ยงต่อการเกิดวิกฤติ ดังเช่นที่เคยเกิดขึ้นกับประเทศในกลุ่มลาตินอเมริกาในช่วงทศวรรษก่อนๆ
    สำหรับ นโยบายประชารัฐ ความมุ่งหวังของกรอบนโยบาย คือการปิดจุดอ่อนของนโยบายประชานิยมดังกล่าว โดยตัวสาระสำคัญของนโยบายประชารัฐ จะอยู่ที่การใช้อำนาจของรัฐ เพื่อประโยชน์ของประชาชนเป็นสำคัญ นโยบายประชารัฐ จึงมิได้มุ่งเน้นที่การสร้างความนิยมชมชอบของประชาชนในระยะสั้นเป็นหลัก เพราะนโยบายที่ประชาชนให้ความนิยมชมชอบ อาจจะมีผลเสียตามมาในอนาคตก็เป็นได้ และไม่ได้ให้ความสำคัญในเรื่องของแหล่งที่มาของอำนาจว่าจะเป็นประชาธิปไตยหรือไม่อีกด้วย ขอเพียงแค่ผลประโยชน์ของการดำเนินนโยบายให้ตกอยู่กับประชาชนก็พอ
    เมื่อย้อนมองถึงนโยบายประชารัฐในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา และมองทิศทางการขับเคลื่อนนโยบายในอนาคตผ่านการ ตั้งคณะทำงานประชารัฐ พบว่า นโยบายประชารัฐที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมา และคาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต จะมีอยู่ 2 รูปแบบที่สำคัญ
    รูปแบบแรก คือ กลุ่มนโยบายที่ดูแลกลุ่มรากหญ้าโดยตรง ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของการอัดฉีดเงินกองทุนหมู่บ้านหรือ มาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ในระดับตำบล ซึ่งเป็นมาตรการดูแล สนับสนุนแบบเฉพาะเจาะจงลงไปให้กับกลุ่มประชาชน และในระดับพื้นที่
    รูปแบบที่สอง คือ กลุ่มนโยบายที่สนับสนุนภาคธุรกิจ เพื่อลดปัญหาผลผลิตคงค้าง ก่อให้เกิดการผลิต การจ้างงาน การลงทุนระลอกใหม่ ตัวอย่างของนโยบายในรูปแบบที่สอง เช่น มาตรการยกเว้นภาษีสำหรับรายได้ที่จ่ายไปเพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์ มาตรการลดหย่อนภาษี 15,000 บาท สำหรับการซื้อสินค้าและบริการในช่วงปลายปีที่ผ่านมา เป็นต้น
    ทั้งสองรูปแบบจะให้ผลประโยชน์ต่อประชาชนในระดับที่ต่างกัน โดยนโยบายรูปแบบแรกจะให้ผลกระทบโดยตรงอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยมากกว่า เนื่องจากเป็นการให้การช่วยเหลือกับกลุ่มประชาชนโดยตรง ในขณะที่นโยบายรูปแบบที่สอง จะให้ประโยชน์กับประชาชนทางอ้อม ผ่านการสนับสนุนภาคธุรกิจ นั่นคือ ประชาชนจะได้รับผลประโยชน์ภายหลังจากที่ธุรกิจได้รับผลประโยชน์แล้ว และผลประโยชน์ที่ประชาชนได้รับจะมากหรือน้อย ขึ้นกับว่าภาคธุรกิจนำผลประโยชน์ทีได้ มาต่อยอดสร้างการผลิต จ้างงานและลงทุนเพิ่มมากน้อยเพียงใดนั่นเอง
    ประสบการณ์จากต่างประเทศ พบว่านโยบายที่สนับสนุนภาคธุรกิจ (รูปแบบที่ 2) มีประเด็นปัญหาที่น่ากังวลใจ คือ นโยบายดังกล่าวอาจจะให้ผลประโยชน์ต่อธุรกิจในระดับที่ไม่เท่าเทียมกัน ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำระหว่างธุรกิจขนาดใหญ่ และธุรกิจขนาดกลางและย่อม นอกจากนี้ นโยบายสนับสนุนธุรกิจอาจจะส่งผลกระทบในแง่ลบต่อความสามารถในการแข่งขันในระยะยาว เนื่องจากนโยบายสนับสนุนภาคธุรกิจ ทำให้ธุรกิจได้รับแรงกดดันจากการแข่งขันลดลง ท้ายที่สุด ประโยชน์ที่ประชาชนได้รับจากนโยบายดังกล่าว อาจจะมีไม่มากนัก หากนโยบายที่สนับสนุนภาคธุรกิจ เป็นแค่การแก้ไขปัญหาผลผลิตที่ล้นเกิน ก่อให้เกิดการจ้างงาน การลงทุนใหม่ๆที่เพิ่มขึ้นไม่มากนัก
    คำตอบที่ว่า ประชาชนจะได้อะไรจากนโยบายประชารัฐ จึงขึ้นกับว่า คณะทำงานประชารัฐจะมุ่งนโยบายไปในทิศทางใด หากนโยบายประชารัฐมุ่งเน้นที่การพัฒนาที่รากหญ้าเป็นสำคัญ ประชาชนทั่วไปก็จะได้รับผลประโยชน์ที่เต็มเม็ดเต็มหน่วย และได้รับผลประโยชน์ที่มากกว่านโยบายที่มุ่งเน้นที่การพัฒนาภาคธุรกิจ เพื่อลดปัญหาผลผลิตคงค้าง เป็นหลัก
    ทั้งนี้ ผู้เขียนมองว่านโยบายที่จะพัฒนาธุรกิจแบบประชารัฐ คือสร้างประโยชน์ให้กับประชาชนอย่างยั่งยืนจะต้องไม่ใช่นโยบายฉาบฉวย ที่เน้นการแก้ไขปัญหาผลผลิตส่วนเกิน แต่ต้องเป็นนโยบายที่วางกลยุทธ์อุตสาหกรรมในอนาคตที่เหมาะสม ที่จะก่อให้เกิดการผลิต การจ้างงาน และการลงทุนอย่างต่อเนื่องในอนาคต

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น