เทคนิคการให้ บริการและการจัดการ ในโครงการซีเนี่ยร์คอมเพล็กซ์ ประชารัฐ ภาคเอกชน โดย ดร.ชยณัฎฐ์ แสงมณี
ซีเนี่ยร์คอมเพล็กซ์ เซ็นเตอร์
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
โดย ดร. ชยณัฎฐ์ แสงมณี กรรมการบริหาร
โครงการซีเนียร์คอมเพล็กซ์ ประชารัฐ ภาคเอกชน อ.นครชัยศรี จ. นครปฐม
โครงการซีเนียร์คอมเพล็กซ์ ประชารัฐ ภาคเอกชน อ.นครชัยศรี ผู้บริโภค ได้วิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ ให้ข้อคิด เลือกซื้อ บริการดูแลผู้สูงอายุ และวิธีการเลือกซื้อบ้านแบบ คอนโด ที่แบบสวยงาม มีให้เลือกหลายแบบ ที่น่าสนใจ บ้านพักตากอากาศ ที่ศึกษาวิเคราะห์มา ด้วยสังคมและหน้าที่การงาน ทำให้คนไทยต้องใช้ชีวิตในสังคมเมือง เมืองกรุง กันมากขึ้น และด้วยโครงการขนาดใหญ่สำคัญ ๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้นในจังหวัด และในประเทศไทยและในแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญพร้อมกับมีการพัฒนา คมนาคม ได้แก่ ขยายถนนวงแหวนแนวใหม่ ผ่านหน้าโครงการและทำให้โครงการเดินทางสะดวกมากขึ้นและ รัฐบาลอนุมัติ โครงการรถไฟฟ้า ใหม่ล่าสุด ซึ่งรัฐบาลอนุมัติให้ดำเนินโครงการแล้ว คาดว่าจะเริ่มดำเนินการในเฟสแรกปี 2566 ซึ่งโครงการนี้ เป็นระบบรถไฟความเร็วสูงระหว่าง กรุงเทพฯ-ภาคอีสาน-ภาคเหนือ-ภาคใต้ ระยะทาง มากกว่า 1000 กิโลเมตรและ กรุงเทพ - เชียงใหม่ ใช้เวลาเดินทาง ไม่นานไม่กี่ ชั่วโมง รองรับผู้โดยสารได้วันละ 34,800 คน มีศักยภาพในการพัฒนาด้านเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้น ส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศหาบ้านให้มีความสุข คุ้มค่าต่อการลงทุน ต้อนรับการท่องเที่ยวระดับ อาเซียน EEC การตัดสินใจใช้รับบริการ ให้ดูแลผู้ป่วยหรือ พ่อและแม่ หรือผู้อนุบาลต่างๆนั้นจักต้องใช้ความละเอียดอ่อนในการตัดสินใจ ผู้บริโภคจึงต้องร่วมกันตัดสินใจหลายคน จึงต้องใช้พฤติกรรมหมู่ ร่วม ในการตัดสินใจ
โครงการซีเนียร์คอมเพล็กซ์ เป็นโครงการการบ้านพักอาศัย จัดสรรที่อยู่อาศัยอย่างมีระบบและมีกฎระเบียบ ที่ถูกต้องตาม พ.ร.บ. การจัดสรรที่ดินเพื่ออยู่อาศัย พ.ศ.2543 และพ.ร.บ.ที่อยู่อาศัยแบบอาคารชุด พ.ศ.2551 และ พ.ร.บ.สถานประกอบการให้บริการการดูแลผู้สูงวัย พ.ศ.2561 และที่ ดร.ชยณัฎฐ์ แสงมณี ได้รับการสนับสนุนจาก กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พ.ศ.2561 ให้จัดทำโครงการและให้การสนับสนุนด้านการให้ประชาชนที่ลงทะเบียนที่มีความประสงค์ จะอยู่อาศัยในโครงการ บ้านพักผู้สูงวัย และที่วางแผนที่จะเข้าอยู่ ในวัยชรา ที่มีจำนวนมากทั่วประเทศ มากกว่า 50,000 คน และสมาชิกของ สหกรณ์ออมทรัพย์ ฯต่างๆที่ได้ ทำข้อตกลง ที่จำทำโครงการฯเพื่อสมาชิกของสหกรณ์นั้นๆ เช่น ข้อตกลงการทำโครงการเพื่อสมาชิก สหกรณ์ออมทรัพย์ครู นครราชสีมาและชุมนุมสหกรณ์ มีสมาชิกมาก จำนวน 500,000 คน,สหกรณ์ ออมทรัพย์การประปาภูมิภาค มีสมาชิก 30,000 คน สหกรณ์ออมทรัพย์การไฟฟ้าภูมิภาค มิสมาชิก 28,000 คน และจะต้องทำเพื่อสมาชิกสหกรณ์ เคหะสถานเมืองโคราช จำกัดและเครือข่ายของสมาชิก สหกรณ์ ทั่วประเทศ มีมากกว่า 100,000 คน ที่สำคัญ มีกลยุทธ์ที่ดีในการให้บริการและมีประสบการณ์ ในการประกอบอาชีพ ดูและผู้สูงอายุในนาม บ้านทองทิพย์ และผู้บริหารโครงการอสังหาริมทรัพย์ โครงการขนาดใหญ่ มากกว่า 20โครงการ และประสมความสำเร็จในการก่อสร้างและการขายโครงการเป็นอย่างดี ในกรุงเทพมหานครและรอบปริมณฑล ตลอดจน ได้รับการแต่งตั้ง ให้เป็นผู้ ทรงคุณวุฒิด้านวิศวกรรมและอสังหาริมทรัพย์ เพื่อรับตำแหน่ง คณะกรรมการ การจัดสรรที่ดิน ของจังหวัด นครปฐม ตลอดระยะเวลา 20 ปี ที่ผ่านมา
โครงการซีเนียร์คอมเพล็กซ์ ประชารัฐ ภาคเอกชน นครชัยศรี มีตำแหน่งอยู่ทิศตะวันออก ของเมืองนครปฐม เป็นพื้นที่ที่มีความเหมาะสมมากที่สุด และโครงการสร้างเมืองใหม่ก็เคยมีการศึกษาไว้เมื่อก่อนหลาย ปีที่ผ่านมาตามโครงการพัฒนาเมือง ที่ต้องขยายเมืองมาในเขต.ต่างๆ
ประเด็นที่สองคือประเทศไทยเป็นประเทศที่เหมาะแก่การอยู่อาศัยของชาวต่างชาติหลังเกษียณอายุมากที่สุด เมือง โอโซน อากาศที่ดี เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศต่างๆทั่วโลกด้วยการพิจารณาจากเงื่อนไขด้านเศรษฐกิจ และรูปแบบการดำเนินชีวิต โดยจากการสำรวจพบว่า 3 เหตุผลที่ทำให้ประเทศไทยเหมาะแก่การเป็นที่อยู่อาศัย หลังเกษียณอายุมากที่สุด ในการตัดสินใจสร้าง โครงการซีเนียร์คอมเพล็กซ์ ประชารัฐ ภาคเอกชน นครชัยศรีและให้สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศและ EEC
ซีเนียร์คอมเพล็กซ์ ประชารัฐ ภาคเอกชน อ.นครชัยศรี โครงการบ้านพักผู้สูงวัยแบบครบวงจรและบ้านที่ลงตัวด้วยระบบการจัดการทันสมัย นี้ด้วย ประกอบกับชื่อเสียงของ บ้านทองทิพย์ มีชื่อเสียง ที่ดีจึงมีลูกค้า มากถึง 300 ชีวิตที่ฝากชีวิตไว้กับ ให้ดูแลผู้สูงอายุหรือผู้อนุบาล เป็นอย่างยิ่ง อันนี้ น่าสนใจในการลงทุนอสังหาริมทรัพย์
แผนงานการก่อสร้างโครงการซีเนียร์คอมเพล็กซ์ ประชารัฐ ภาคเอกชน อ.นครชัยศรีมีแผนงานการก่อสร้างดังนี้ คือ แผนงานก่อสร้าง แผนออกแบบอาคารและวางผัง และขอใบอนุญาตต่างๆโครงการประกอบด้วย 3 ส่วนด้วยกัน
ส่วนที่ 1 เป็นที่พักสำหรับผู้สูงอายุ Active เปิดบริการจำนวน 553 unit
ส่วนที่ 2 เป็นที่พัก บริการผู้สูงอายุ เนอร์สซิ่งโฮม และศูนย์สุขภาพ
ส่วนที่ 3 เป็น Compact จัดไว้ สำหรับผู้สูงอายุ Active สามารถรองรับ สมาชิก 1,000 คน/โครงการ
เปิดโครงการก่อสร้างบ้านเพื่อผู้สูงวัย.หลังเกษียณ ของสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ครูและข้าราชการบำนาญและประชาชนที่ลงทะเบียนไว้กับหน่วยงานของรัฐ
2.โครงการ ซีเนียร์คอมเพล็กซ์ ประชารัฐ นครเชียงใหม่ ต.บางกระเป้า อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ เนื้อที่ โครงการ 40 ไร่ จำนวน หน่วยอาคารชุด 553 หน่วย จำหน่าย ห้องละ 1,5500,000 บาท รวมมูลค่าโครงการ 857,150,000 ล้าน ขณะนี้ กำลัง ออกแบบอาคาร และขอใบอนุญาตต่างๆ ถมดินโครงการและแยกงบดังนี้ ไว้ใน 3 พื้นที่ตามที่ได้กำหนดไว้นั้น และใช้งบประมาณที่เท่าๆกันตลอดจน ความต้องการของประชาชนที่สนใจและสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ที่สนใจมีความต้องการเป็นจำนวนมานั้นและให้เหมาะสมต่อการขับเคลื่อนโครงการ ที่เป็น โครงการกิจการของรัฐบาลนั้น จึงต้องทำให้เหมาะสมต่อความต้องการในขณะนี้ พร้อมกับ โครงการสามารถที่จำชำระเงินต้นและดอกเบี้ยทันในระยะเวลากำหนดได้อย่างเหมาะสม และขยายเพิ่มในโครงการอื่นให้แล้วเสร็จ ในระยะเวลา 15 ปี นี้เ
นโยบาย ‘ประชารัฐ’ เป็นกรอบแนวทางในการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจของรัฐบาล
ตอบลบเมื่อวานนี้
นโยบาย ‘ประชารัฐ’ เป็นกรอบแนวทางในการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจของรัฐบาล พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา แทนกรอบนโยบายแบบเก่าของรัฐบาล นางสาวยิ่งลักษณ์ หรือก็คือ นโยบาย ‘ประชานิยม’
โดยในตัวสาระสำคัญจะพบว่า นโยบายประชานิยม จะมุ่งเน้นที่ความนิยมชมชอบของประชาชนเป็นหลัก ซึ่งเมื่ออยู่ภายใต้ระบบการเลือกตั้ง นโยบายประชานิยมจะเลือกพุ่งเป้าไปที่ความนิยมชมชอบของกลุ่มประชาชนส่วนใหญ่ก่อน เพื่อให้ได้รับการเลือกตั้ง ซึ่งอาจจะไม่เป็นที่นิยมชมชอบ หรือแม้กระทั่งเกิดผลเสียต่อกลุ่มประชาชนส่วนน้อย
ปัญหาที่สำคัญอีกประการหนึ่งของนโยบายประชานิยม ก็คือ ผู้ที่ได้รับผลประโยชน์จากนโยบาย มักจะไม่ได้ทันคำนึงถึงผลเสียที่จะตามมาในอนาคต ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น การมองภาพรวมได้อย่างไม่ครบถ้วน การขาดข้อมูลในการตัดสินใจ หรือ ผลของความเสียหายจะถูกกระจายอย่างเฉลี่ยจนทำให้ผลเสียดูเบาบางลงไป นโยบายประชานิยมที่ขาดการคำนึงถึงผลเสียในอนาคต จึงทำให้ประเทศสุ่มเสี่ยงต่อการเกิดวิกฤติ ดังเช่นที่เคยเกิดขึ้นกับประเทศในกลุ่มลาตินอเมริกาในช่วงทศวรรษก่อนๆ
สำหรับ นโยบายประชารัฐ ความมุ่งหวังของกรอบนโยบาย คือการปิดจุดอ่อนของนโยบายประชานิยมดังกล่าว โดยตัวสาระสำคัญของนโยบายประชารัฐ จะอยู่ที่การใช้อำนาจของรัฐ เพื่อประโยชน์ของประชาชนเป็นสำคัญ นโยบายประชารัฐ จึงมิได้มุ่งเน้นที่การสร้างความนิยมชมชอบของประชาชนในระยะสั้นเป็นหลัก เพราะนโยบายที่ประชาชนให้ความนิยมชมชอบ อาจจะมีผลเสียตามมาในอนาคตก็เป็นได้ และไม่ได้ให้ความสำคัญในเรื่องของแหล่งที่มาของอำนาจว่าจะเป็นประชาธิปไตยหรือไม่อีกด้วย ขอเพียงแค่ผลประโยชน์ของการดำเนินนโยบายให้ตกอยู่กับประชาชนก็พอ
เมื่อย้อนมองถึงนโยบายประชารัฐในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา และมองทิศทางการขับเคลื่อนนโยบายในอนาคตผ่านการ ตั้งคณะทำงานประชารัฐ พบว่า นโยบายประชารัฐที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมา และคาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต จะมีอยู่ 2 รูปแบบที่สำคัญ
รูปแบบแรก คือ กลุ่มนโยบายที่ดูแลกลุ่มรากหญ้าโดยตรง ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของการอัดฉีดเงินกองทุนหมู่บ้านหรือ มาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ในระดับตำบล ซึ่งเป็นมาตรการดูแล สนับสนุนแบบเฉพาะเจาะจงลงไปให้กับกลุ่มประชาชน และในระดับพื้นที่
รูปแบบที่สอง คือ กลุ่มนโยบายที่สนับสนุนภาคธุรกิจ เพื่อลดปัญหาผลผลิตคงค้าง ก่อให้เกิดการผลิต การจ้างงาน การลงทุนระลอกใหม่ ตัวอย่างของนโยบายในรูปแบบที่สอง เช่น มาตรการยกเว้นภาษีสำหรับรายได้ที่จ่ายไปเพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์ มาตรการลดหย่อนภาษี 15,000 บาท สำหรับการซื้อสินค้าและบริการในช่วงปลายปีที่ผ่านมา เป็นต้น
ทั้งสองรูปแบบจะให้ผลประโยชน์ต่อประชาชนในระดับที่ต่างกัน โดยนโยบายรูปแบบแรกจะให้ผลกระทบโดยตรงอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยมากกว่า เนื่องจากเป็นการให้การช่วยเหลือกับกลุ่มประชาชนโดยตรง ในขณะที่นโยบายรูปแบบที่สอง จะให้ประโยชน์กับประชาชนทางอ้อม ผ่านการสนับสนุนภาคธุรกิจ นั่นคือ ประชาชนจะได้รับผลประโยชน์ภายหลังจากที่ธุรกิจได้รับผลประโยชน์แล้ว และผลประโยชน์ที่ประชาชนได้รับจะมากหรือน้อย ขึ้นกับว่าภาคธุรกิจนำผลประโยชน์ทีได้ มาต่อยอดสร้างการผลิต จ้างงานและลงทุนเพิ่มมากน้อยเพียงใดนั่นเอง
ประสบการณ์จากต่างประเทศ พบว่านโยบายที่สนับสนุนภาคธุรกิจ (รูปแบบที่ 2) มีประเด็นปัญหาที่น่ากังวลใจ คือ นโยบายดังกล่าวอาจจะให้ผลประโยชน์ต่อธุรกิจในระดับที่ไม่เท่าเทียมกัน ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำระหว่างธุรกิจขนาดใหญ่ และธุรกิจขนาดกลางและย่อม นอกจากนี้ นโยบายสนับสนุนธุรกิจอาจจะส่งผลกระทบในแง่ลบต่อความสามารถในการแข่งขันในระยะยาว เนื่องจากนโยบายสนับสนุนภาคธุรกิจ ทำให้ธุรกิจได้รับแรงกดดันจากการแข่งขันลดลง ท้ายที่สุด ประโยชน์ที่ประชาชนได้รับจากนโยบายดังกล่าว อาจจะมีไม่มากนัก หากนโยบายที่สนับสนุนภาคธุรกิจ เป็นแค่การแก้ไขปัญหาผลผลิตที่ล้นเกิน ก่อให้เกิดการจ้างงาน การลงทุนใหม่ๆที่เพิ่มขึ้นไม่มากนัก
คำตอบที่ว่า ประชาชนจะได้อะไรจากนโยบายประชารัฐ จึงขึ้นกับว่า คณะทำงานประชารัฐจะมุ่งนโยบายไปในทิศทางใด หากนโยบายประชารัฐมุ่งเน้นที่การพัฒนาที่รากหญ้าเป็นสำคัญ ประชาชนทั่วไปก็จะได้รับผลประโยชน์ที่เต็มเม็ดเต็มหน่วย และได้รับผลประโยชน์ที่มากกว่านโยบายที่มุ่งเน้นที่การพัฒนาภาคธุรกิจ เพื่อลดปัญหาผลผลิตคงค้าง เป็นหลัก
ทั้งนี้ ผู้เขียนมองว่านโยบายที่จะพัฒนาธุรกิจแบบประชารัฐ คือสร้างประโยชน์ให้กับประชาชนอย่างยั่งยืนจะต้องไม่ใช่นโยบายฉาบฉวย ที่เน้นการแก้ไขปัญหาผลผลิตส่วนเกิน แต่ต้องเป็นนโยบายที่วางกลยุทธ์อุตสาหกรรมในอนาคตที่เหมาะสม ที่จะก่อให้เกิดการผลิต การจ้างงาน และการลงทุนอย่างต่อเนื่องในอนาคต